ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ณัฐทพร ปวนปันคำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50300
  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50300

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คุณภาพชีวิต, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 280 ครัวเรือน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประมาณค่า 95CI% วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรในพื้นที่ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.78, SD = 0.30) ช่วงเชื่อมั่น 95%CI อยู่ระหว่าง 3.74 ถึง 3.82 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่ รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตการเกษตร จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร และหนี้สิ้นของครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rxy = .351, .291 และ .128 ตามลำดับ p-value < .05) เสนอแนะให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมุ้งเน้นปัจจัยด้านราคาผลผลิตให้เหมาะสม ส่งเสริมพื้นที่ทำการเกษตรหรือมีนโยบายเพิ่มวงเงินกู้เพื่อการเกษตร ลดอัตราดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้

 

เอกสารอ้างอิง

จิฑาภรณ์ ยกอิ่น และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 34(1), 130-139.

จุฑาทิพย์ เฉลิมผล, รุจ ศิริสัญลักษณ์, จุฑามาศ โชติบาง และปณิธี ชมภูศรี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 421-428.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2563). คุณภาพชีวิตชาวนาไทย ศึกษากรณีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสหศาสตร์, 18(1), 75-105.

ณัทปภา สุริยะ. (2561). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 71-81.

พัชราวดี ศรีบุญเรือง, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และชลาธร จูเจริญ. (2562). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเกษตรผู้ปลูกยางพารา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(1), 15-22.

สามารถ ใจเตี้ย. (2564). ปัจจัยพยากรณคุณภาพชีวิตของเกษตรกรสูงอายุจากการผลิตลำไยนอกฤดู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 54-65.

สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน. (2564). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร. เข้าถึงได้จาก https://www.Lamphun.doae.go.th (20 ธันวาคม 2565)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). หนี้สินครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2558. (ม.ป.ป.). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. เข้าถึงได้จาก https://www. depa.or.th (20 ธันวาคม 2565)

สุพิชา โชติกำจร และฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2562). ภาวะยากจนและคุณภาพชีวิต ในครัวเรือนเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์, 21(1), 87-93.

อรอาภา เมืองสุวรรณ. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาทรัพยากรชนบท). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Daniel, W.W. (2010) Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed.). New York: John Wiley & Sons.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-17