ภาวะสุขภาพจิตของตำรวจจราจรในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • อารยา ข้อค้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต 83000
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม 44000

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, ตำรวจจราจร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของตำรวจจราจรในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต จำนวน 76 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย
ฉบับสมบูรณ์ 55 ข้อ (TMHI-55) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 20 - 29 ปี (ร้อยละ 44.7) คะแนนเฉลี่ยของสุขภาพจิตเท่ากับ 174.96 คะแนน (SD = 18.04) โดยระดับสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 54.0รองลงมา คือ สุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 36.8 และสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 9.2 ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถทำนายได้สูงสุด (β = -.331, p < .001) รองลงมา คือ ระดับการศึกษาปริญญาตรี (β = -.519, p < .001) และรายได้ต่อเดือน (β = -.448, p < .001) ตามลำดับ ทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกันทำนายภาวะสุขภาพจิตได้ร้อยละ 39.00
(R2 = .390, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้นำมาเป็นแนวทางในวางแผนช่วยเหลือตำรวจจราจรกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการส่งเสริมและการคงไว้ซึ่งสุขภาพจิตให้อยู่ในระดับที่ดีต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของประเทศไทย: แยกตามช่วงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp (11 เมษายน 2564)

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2563, คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh-elibrary.org/items/show/334 (11 เมษายน 2564)

เจษฎา มูลยาพอ, บุญส่ง สินธุ์นอก, สมเดช นามเกตุ และพระมหาปริญญา วรญาโณ. (2563). การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(2), 207-220.

ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล. (2562). จิตแพทย์ชี้หากตำรวจคิดฆ่าตัวตายมักประสบความสำเร็จสูงกว่าคนในอาชีพอื่น. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-46744797 (11 เมษายน 2564)

ยุวดี ลีลัคนาวีระ, ชัชดา หลงพิมาย และชนัญ ชิดาดุษฎี ทูลศิริ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 399-416.

รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์, นุจรี ไชยมงคล และจิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตในตำรวจชั้นประทวน. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 22(4), 460-470.

วัสยศ งามขำ. (2563). ตำรวจฆ่าตัวตายรายวัน ปัญหาใหญ่ที่ สตช.ต้องเร่งสะสาง.เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/social/general/612226 (11 เมษายน 2564)

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, ทานตะวัน แย้มบุญเรือง และญานิศา เถื่อนเจริญ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตกับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 131-144.

แวอาซีร โต๊ะตีเต และชนิกา แสงทองดี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลสามเสน เขตดุสิตกรุงเทพฯ. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย, 2(2), 19-28.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี และณัฐธิดา ยานะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 93-106.

สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา และวิจิตร แผ่นทอง. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 150-163.

สุภาพร พันพยัคฆ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน และวิไล นาป่า. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด ความแข็งแกร่งในชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของตำรวจจราจรไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(2), 15-34.

เสน่ห์ ใจสิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรบนท้องถนน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 3(1), 45-54.

อภิชัย มงคล และคณะ. (2552). การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (ฉบับปี 2007). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(3), 299-315.

Francesco Chirico. (2016). Spiritual well-being in the 21st century: It is time to review the current WHO’s health definition. Journal of Health and Social Sciences. 1(1), 11-16.

Robert V. Krejcie, & Daryle W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06