ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรัญญา หล่อพัฒนเกษม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, นครราชสีมา 30000
  • ธนิดา ผาติเสนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, การป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 354 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์อำนาจในการทำนายด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการตัดสินใจ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ และทักษะการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .760, .756, .735, .714, .670 และ .420, p-value < .05) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ และสามารถอธิบายการทำนายกับพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคฯ ได้ร้อยละ 72.4   (R2 = .724, R2adj = .721, B = 11.324, Std. E = .629) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php. (28 สิงหาคม 2563)

กรมควบคุมโรค. (2563) เชื้อไวรัสโคโรน่า. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php (28 สิงหาคม 2563)

กรมควบคุมโรค. (2563). การกักตัวของกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา. เข้าถึงได้จาก. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=12276&deptcode=brc. (28 สิงหาคม 2563)

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังโรค COVID19. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. (28 สิงหาคม 2563)

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฎกำจร และดวงใจ ปันเจริญ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 200-212.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). รายงานตารางชื่อและที่อยู่ อสม. และสมาชิกครอบครัวทั้งหมด จำแนกตามตำบล และอำเภอ. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00002.php. (20 กุมภาพันธ์ 2564)

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด : นนทบุรี.

กัมปนาท โคตรพันธ์ และนิยม จันทร์นวล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 14 “Research and Innovations for All”. (16-17 กรกฎาคม 2563) ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : อุบลราชธานี.

เชษฐา งามจรัส. (2564). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น.

ณัฐริกา พร้อมพูน, กฤษิณี เหลื่อง, วรางคณา คงสวัสดิ์, กฤติญา เส็งนา และภูษณิศา มีนาเขตร. (2565). ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคโควิด-19 และพฤติกรรมสุขภาพแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1(1), 16-27.

ดาวรุ่ง เยาวกูล. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ) มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีรฉัตย์ แจขจัด และทวีวรรณ ศรีสุขคำ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลต้า อำเภอขนตาล จังหวัดเชียงราย. วารสารโรคและภัยสุขภาพสานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 16(3), 80-94.

เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, นงณภัทร รุ่งเนย, อัจฉรา สุขสำราญ และฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์. (2565). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(2), e258939.

วันวิสาข์ อรพันธ์ และอารี บุตรสอน. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), 37(2), 14-23.

วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.

ศูนย์โควิด19 โคราช. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจังหวัดนครราชสีมา. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/pages/category/MedicalHealth/. (25 เมษายน 2563)

หยาดพิรุณ ศิริ, อธิวัต อาจหาญ และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 493-504.

Kyung Jin Hong et al. (2021). Effect of e-Health Literacy on COVID-19 Infection-Preventive Behaviors of Undergraduate Students Majoring in Healthcare. Healthcare, 9(573), 10.3390/healthcare9050573

World Health Organization. (1998). Clinical management of severe acute respiratory infection when COVID- 19 is suspected. Switzerland [Internet]. [cited2020March31]. Available from: https://www.who.int/publications-detail/clinical-management-of-severe-acute-respiratory-infection-when-novel-coronavirus-(ncov)-infection-is-suspected.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-04