ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ กับพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดในสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • กุลินทร คำแน่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา, ศรีสะเกษ 33000
  • ศิวิไล โพธิ์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา, ศรีสะเกษ 33000
  • ธนัญญา พรหมภักดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา, ศรีสะเกษ 33000
  • ปาลิตา พรมเพ็ญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา, ศรีสะเกษ 33000

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ กับพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดในสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 476 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคว์สแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า จากการสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 476 คน มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในสมอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.20 (SD=0.40)  มีระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.04 (SD=0.67) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ญาติสายตรงที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในสมองด้านความเครียด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เอกสารอ้างอิง

จตุพงษ์ พันธ์วิไล และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 882-895.

ชูชาติ กลิ่นนาคร และสุ่ยถิน แซ่ตัน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อําเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2(2), 62-77.

ดวงธิดา โสดาพรม และศวิไลช์ วนรัตน์วิจิตร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(2), 98-111.

ธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครราชสีมา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง.

นิศาชล นุ่มมีชัย, นิภาวรรณ สามารถกิจ และเขมารดี มาสิงบุญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 23-38.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์บริการ. (2561). แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกโรคหลอดเลือดสมอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

ปิยนุช จิตตนูนท์ และคณะ. (2564). ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(2), 13-25.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง. (2563). ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ.

อณัญญา ลาลุน และไพฑูรย์ วุฒิโส. (2564). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล, 70(2), 27-36.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.

Pothiban L, Srirat C. (2019). Association between stroke knowledge, stroke awareness, and preventive behaviors among older people: A cross-sectional study. Nurse Health Sci, 21(3), 399-405.

Stretcher VJ, Rosenstock IM. (1997). The health belief model. In: Glanz K., Lewis F.M., &Rimer B.K., (Eds.). Health behavior and health education: Theory, research and practice. (2nd ed). San Francisco: Jossey-Bass.

World Stroke Organization. (2012). About world stroke day. Retrieved from http://www.worldstrokecampaign.org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay2010.asp (20 September 2023)

World Stroke Organization. (2017). What’s your reason for preventing stroke. Vienna: World Stroke Organization 2017. Retrieved from https://www.worldstroke.org/assets/downloads/English-World Stroke Day 2017 Brochure 20170720.pdf (16 September 2017)

Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed). New York: Harper and Row.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-05