การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของประชาชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิตรวรรณ กลางเอก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชัยภูมิ, ชัยภูมิ 36000

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของประชาชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง 968 คน ด้วยแบบสอบถามที่สร้างและพัฒนาขึ้น ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลกับตัวแทนชุมชน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired sample t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค COVID-19 ได้แก่ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ การรับรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ส่วนรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ประกอบด้วย (1) การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน อสม. และแกนนำครัวเรือน (2) กิจกรรมมอบรางวัลชุมชนป้องกันโรค COVID-19 ดีเด่น (3) การพัฒนาระบบและช่องทางการสื่อสาร (4) การจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน และ (5) การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน ผลการพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรค COVID-19 พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 และความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรค COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการนำผลการศึกษานี้ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ข้อเสนอในการวิจัยครั้งต่อไป ควรติดตามผลการศึกษาในระยะยาวเพื่อประเมินการเข้าถึงข้อมูลและความยั่งยืนของชุดกิจกรรมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=province (10 กุมภาพันธ์ 2566)

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานผลการเฝ้าระวังสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนครั้งที่ 1. (ม.ป.ป). นนทบุรี: กองสุขศึกษา.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพแลtพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561. (ม.ป.ป). นนทบุรี: กองสุขศึกษา.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(3), 66-75.

จงรัก สุวรรณรัตน์ และธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2565). การพัฒนารูปแบบระบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและค่าน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. Journal of Nursing and Health Care, 40(2), 95-104.

เชษฐา งามจรัส. (2564). การคำนวณตัวอย่างสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐสุดา คติชอบ และคณะ. (2566). การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของวัยทำงานเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง: บทบาทพยาบาลสุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 46(1), 7–20.

ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ และอารียา จิรธนานุวัฒน์. (2565). การบริหารจัดการภาวะวิกฤตในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ, 16(3), 370–389.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. (2564). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(2), 193-206.

ปรเมษฐ์ กิ่งโก้. (2566). การพัฒนารูปแบบระบบการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน การระบาดโรคโควิด 19 จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 30(1), 1-13.

รัชนี เต็มอุดม และคะณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 28(1), 1-13.

วลัยพร พัชรนฤมล, วริศา พานิชเกรียงไกร, และอังคณา เลขะกุล. (2563). การพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5275/hs2614.pdf?sequence=1&isAllowed=y (10 กุมภาพันธ์ 2566)

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, วลัยพร พัชรนฤมล, วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล และวันวิสาห์ แก้วขันแข็ง. (2563). การสังเคราะห์มาตรการและนโยบายของรัฐบาลเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากผลการประเมินการปฏิบัติตนของประชาชนไทยต่อมาตรการต่าง ๆ. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5273/hs2608.pdf?sequence=1&isAllowed=y (10 กุมภาพันธ์ 2566)

วิลัยวรรณ ปัดถา, ชนัญญา จิรพรกุล และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2022). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(3), 37-47.

วิไล มีทองขาว, อดิศร วงศ์คงเดช และสันติสิทธิ์ เขียวเขิน. (2022). การจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(2), 37-47.

สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หทัยกาญจน์ ยางศรี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสุรีย์ จันทรโมลี. (2021). การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อป้องกันการติดโรคพยาธิ ใบไม้ตับ ในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารควบคุมโรค, 47(1), 848-858.

Abel, T., & McQueen, D. (2020). Critical health literacy and the COVID-19 crisis. Health Promotion International, daaa040. doi.org/10.1093/heapro/daaa040

Bloom BS. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP evaluation comment. Losangeles: University of California at Los Angeles.

Brooks, S. K., Webster, R. K., Smith, L. E., Woodland, L., Wessely, S., Greenberg, N., & Rubin, G. J. (2020). The psychological impact of quarantine and how to reduce it: Rapid review of the evidence. Lancet (London, England), 395(10227), 912–920. doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30460-8

Chen, X., Ran, L., Liu, Q., Hu, Q., Du, X., & Tan, X. (2020). Hand Hygiene, Mask-Wearing Behaviors and Its Associated Factors during the COVID-19 Epidemic: A Cross-Sectional Study among Primary School Students in Wuhan, China. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(8), 2893. doi.org/10.3390/ijerph17082893

Chu, D. K., Akl, E. A., Duda, S., Solo, K., Yaacoub, S., & Schünemann, H. J. (2020). Physical distancing, face masks, and eye protection to prevent person-to-person transmission of SARS-CoV-2 and COVID-19: A systematic review and meta-analysis. Lancet (London, England), 395(10242), 1973–1987. doi.org/10.1016/S0140-6736(20)31142-9

Ebrahim, S. H., Ahmed, Q. A., Gozzer, E., Schlagenhauf, P., & Memish, Z. A. (2020). Covid-19 and community mitigation strategies in a pandemic. BMJ (Clinical Research Ed.), 368, m1066. doi.org/10.1136/bmj.m1066

Fung, I. C., & Cairncross, S. (2006). Effectiveness of handwashing in preventing SARS: A review. Tropical Medicine & International Health, 11(11), 1749–1758. doi.org/10.1111/ j.1365-3156.2006.01734.x

Hung, S.-C., Yang, S.-C., & Luo, Y.-F. (2021). New Media Literacy, Health Status, Anxiety, and Preventative Behaviors Related to COVID-19: A Cross-Sectional Study in Taiwan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(21), 11247. doi.org/10.3390/ijerph182111247

Munnoli, P. M., Nabapure, S., & Yeshavanth, G. (2022). Post-COVID-19 precautions based on lessons learned from past pandemics: A review. Journal of Public Health, 30(4), 973–981. doi.org/10.1007/s10389-020-01371-3

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267. doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

Rudd, R., & Baur, C. (2020). Health literacy and early insights during a pandemic. Journal of Communication in Healthcare, 13(1), 13–16. doi.org/10.1080/17538068.2020.1760622

Spring, H. (2020). Health literacy and COVID‐19. Health Information and Libraries Journal, 37(3), 171–172. doi.org/10.1111/hir.12322

WHO. (2021). COVID-19 Strategic Preparedness and Response Plan (SPRP 2021). https://www.who.int/publications-detail-redirect/WHO-WHE-2021.02

Wilder-Smith, A., Chiew, C. J., & Lee, V. J. (2020). Can we contain the COVID-19 outbreak with the same measures as for SARS? The Lancet. Infectious Diseases, 20(5), e102–e107. doi.org/10.1016/S1473-3099(20) 30129-8

World Health Organization. (2022). Coronavirus (COVID-19) Dashboard. https://covid19.who.int

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-19