การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ นครพัฒน์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, ชุมพร 86000
  • นันท์นภัส กาลปักษ์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, ชุมพร 86000
  • อัญธิกา ศรีสุบัติ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, ชุมพร 86000

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การติดเชื้อดื้อยา, การดูแลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย  ติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 112 คน และกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 150 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้น จำนวน 75 คน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาแบบปกติ จำนวน 75 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาและแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและควบคุม การแพร่กระจายเชื้อดื้อยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการปฏิบัติ แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Paired t-test, Chi-square, McNemar x2, การวิเคราะห์ความเสี่ยง Relative risk (RR) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ประกอบด้วย แนวทางการดูแลผู้ป่วย   ติดเชื้อดื้อยา การให้ความรู้ การนิเทศและการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือ ภายหลังการใช้รูปแบบฯ มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีการปฏิบัติถูกต้องเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก อุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลลดลง ประมาณ 0.42 เท่า อัตราการเสียชีวิติลดลง ประมาณ 0.38 เท่า ค่าใช้จ่ายยาต้านจุลชีพและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุป รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่ถูกต้อง อุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตลดลง เสนอแนะให้หน่วยงานมีนโยบายในการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่พัฒนาขึ้น ไปใช้กับบุคลากรเพื่อให้การปฏิบัติงานมuประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการประเมินการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด งานพิมพ์.

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/AMR%20 (1 พฤษภาคม 2565)

ชลทิศ บุญร่วม, อะเคื้อ อุณหเลขกะ และวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. (2560). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 47(2), 133-142.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

นาตยา ปริกัมศีล, ศุภา เพ็งเลา และสมใจ สายสม. (2561). ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษต่อความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษของบุคลากรสุขภาพผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลโพธาราม. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(2), 49-57.

ประภัสสร เดชศรี, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และนงค์คราญ วิเศษกุล. (2564). ผลของกลยุทธ์หลากหลายวิธีต่อความรู้และการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในโรงพยาบาล หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 48(3), 154-166.

พรพิมล อรรถพรกุศล และคณะ. (2564). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(3), 1-15.

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. (2561). แนวทางปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 2561. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์.

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. (2564). รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2562-2564. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์.

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. (2565). รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ตุลาคม 2564 -มีนาคม 2565. งานจุลชีววิทยาคลินิก. โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์.

วิจิตย์ ทองแสน. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(1), 19-28.

วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. (2560). การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3), 411-456.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2560). โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. (2560). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4700/hs2339.pdf. (6 พฤษภาคม 2565)

สถาบันบำราศนราดูร. (2562). การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สถาบันบำราศนราดูร. (2563). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สถาบันบำราศนราดูร. (2564). การสำรวจการใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลของประเทศไทยโดยวิธี Point Prevalence Survey พ.ศ. 2564. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์. (2564). สถานการณ์ดื้อยาต้านจุลชีพปี 2020-2022. เข้าถึงได้จาก http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR%202000-2020-12M.pdf. (6 พฤษภาคม 2565)

สมถวิล อัมพรอารีกุล และสมรักษ์ ศิริเขตรกรณ์. (2565). ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 16(2), 60-71.

สมสมัย บุญส่อง, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย และนุสรา ประเสริฐศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแผนกศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2557). การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย Prevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Units. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2561). แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่ : บริษัทมิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด (โรงพิมพ์มิ่งเมือง).

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2563). การประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Abbara S. et al. (2019). Impact of a multimodal strategy combining a new standard of care and restriction of carbapenems, fluoroquinolones and cephalosporins on antibiotic consumption and resistance of Pseudomonas aeruginosa in a French intensive care unit. Int J Antimicrob Agents, 53(4), 416-422.

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics. (5th ed). Duxbery: Thomson learning.

Center for Disease Control and Prevention. (2017). Management of multidrug-resistant organisms in healthcare settings, 2006. Retrieved from https://www.cdc.gov/infection control/ pdf/guidelines/mdro-guidelines.pdf (14 May 2022)

English, KM. et al. (2018). Contact among healthcare workers in the hospital setting: Developing the evidence base for innovative approaches to infection control. BMC Infection Disease, 18(1), 184. DOI:10.1186/s12879-018-3093-x

Giraldi, G. et al. (2019). Healthcare-associated infections due to multidrug-resistant organisms: A surveillance study on extra hospital stay and direct costs. Current Pharmaceutical Biotechnology, 20(8), 643-652.

Hansen, S. et al. (2010). Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) in Europe: which infection control measures are taken. Infection Control and Hospital Epidemiology, 38(3), 159-164.

Institute for Healthcare Improvement. (2003). The Breakthrough Series: IHI’s Collaborative model for achieving breakthrough improvement. Retrieved from http://www.ihi.org/NR/rdonlyres (2 May 2022)

Maslikowska, JA. et al. (2016). Impact of infection with extended-spectrum b-lactamase-producing Escherichia coli or Klebsiella species on outcome and hospitalization costs. Journal of Hospital Infection, 92(1), 33-41.

Naghavi M. (2022). Global burden of bacterial antimicrobial resistance in 2019: a systematic analysis. Lancet, 399, 629–655. doi.org/10.1016/S0140-6736(21)02724-0

Zhen, X. et al. (2020). Clinical and economic impact of methicillin-resistant Staphylococcus aureus: A multicenter study in China. Scientific Reports, 10, 3900.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-20