ผลของโปรแกรมชุดกิจกรรม “ข้าวหลาม สร้างพลังใจ” เพื่อพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พันธะกานต์ ยืนยง คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • ญาณันธร กราบทิพย์ คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • กนกกร จงประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • กนกรดา แก้วอ่อน คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • ณิชกานต์ ส่งแจ้ง คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • ธมนวรรณ นาลัย คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • ปาริฉัตร ทองนาท คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • สุพรรษา ศรีโมรา คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย
  • ปรีชา สุวรรณทอง คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, ชลบุรี 20000, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความหวัง, สร้างพลังใจ, ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นการพัฒนาความสามารถทางบวกของบุคคลที่เป็นองค์ประกอบของพฤติกรรมเฉพาะบุคคล การศึกษานี้เป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ เพื่อพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 23 คน แบ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สึกท้อแท้มากที่สุด จำนวน 11 คน และผู้ที่มีความท้อแท้น้อยที่สุด จำนวน 12 คน เข้าร่วมโปรแกรมระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมชุดกิจกรรม “ข้าวหลาม สร้างพลังใจ” แบบประเมินทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก และแบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ชุดกิจกรรม “ข้าวหลาม สร้างพลังใจ” อสม. มีค่าเฉลี่ยของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมชุดกิจกรรม “ข้าวหลาม สร้างพลังใจ” โดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น โปรแกรม ชุดกิจกรรม “ข้าวหลาม สร้างพลังใจ” สามารถพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริม อสม. ให้มีความสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น “อสม.ออนไลน์” รวมถึงการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาปฏิบัติงานสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

Boonkerd P. & Wanichtanom R. (2016). The Relationship Between Positive Psychological Capital, Perceived Organizational Support and Turnover Intention with Consideration of Job Satisfaction as a Mediator in Professional Nurses : a Central Hospital in Eastern of Thailand. Journal of Social Sciences and Humanities, 42(2), 148-169.

Camluang S. & Suwannawaj S. (2017). Corporate identity design by using semiotics theory on the perception of cultural capital of Gardgongta, Lampang Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 8(1), 24-39.

Cohen J. (2013). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Routledge Academic.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Lorlowhakarn S. & Narintharuksa P. (2021). Health Literacy Health Behavior and Quality of Life of Phuket Village Health Volunteers. Journal of Health Science of Thailand, 30(3), S414-422.

Mongkol A. et al. (2009). The Development and Testing of Thai Mental Health Indicator Version 2007. Bangkok: Cooperative Agriculture Printing House Limited.

Yuenyong P. et al. (2024). Positive Psychological Capital in using of Application “AORSORMOR ONLINE” of the Village Health Volunteers in Seansuk Sub-District, Mueang District, Chonburi Province. Research and Development Health System Journal, 17(1), 113-126.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27