ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความเครียดของนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • วรัญญา เกตุแก้ว Department of Counseling Psychology, Faculty of Education, Ramkhamhaeng University
  • เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

คำสำคัญ:

บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, ความเครียด, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความเครียดของนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 66 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ระดับความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และแบบวัดความเครียดจากคู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุง) ปี พ.ศ. 2555 ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบแสดงตัว แบบเปิดรับประสบการณ์ แบบประนีประนอม แบบมีมโนสำนึกต่อหน้าที่การงานอยู่ในระดับสูง แต่มีบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวทางอารมณ์ในระดับต่ำ นักศึกษาฯ ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีความเครียดระดับปกติทั่วไป นักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและที่เรียนรูปแบบการเรียนแบบทวิภาคมีความเครียดเล็กน้อย ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความเครียด พบว่า บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บุคลิกภาพด้านหวั่นไหวทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านประนีประนอม มีความสัมพันธ์ทางลบระดับน้อยกับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นทางหลักสูตรควรมีการจัดแผนการศึกษาในการพัฒนาบุคลิกภาพแบบประณีประณอมและบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์เพื่อลดความเครียดของนักศึกษา

เอกสารอ้างอิง

Costa P. T. & McCrae R. R. (2013). Neo PI-R professional manual. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/240133762_Neo_PIR_professional_manual

Department of Mental Health. (2022). Mental Health Evaluation Data of Thai People. Mental Health Check-In. https://checkin.dmh.go.th/dashboards.

Department of Mental Health. (2022). Self-Harm Monitoring System. https://506s.dmh.go.th/Home

Department of Mental Health. (2022). Tips for Saying Goodbye to Stress. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2469

Hall C. S. et al. (1997). Theories of Personality. John Wiley & Sons.

Jarokhokkruad K. et al. (2021). The Relationship between Neuroticism and Stress among Programmers During the COVID-19 Pandemic. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 84 - 86.

Kaewkomol K. & Smuthranond T. (2018) Relationships between Big Five Personality, Resilience, and Job Burnout of Operational Employee at the Energy Business Company. KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies), 7(1), 141-153.

Kamau-Seng, S. (2018). The Relationship between Self-Control Five-Factor Personality, Organizational Climate, and Organizational Citizenship Behavior: A Study of Personnel in an Organization in Samut Prakan Province. (Master's Thesis, Ramkhamhaeng University). Ramkhamhaeng University Central Library.

Krejcie R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Phromwan, S. (2014). The Relationship between Perceived Organizational Ethical Climate, Five-Factor Personality and Good Organizational Citizenship Behavior: A Case Study of Non-Commissioned Officers in the 5th Cavalry Regiment, Saraburi Province. (Master's Thesis, Ramkhamhaeng University). Ramkhamhaeng University Central Library.

Sathirapania, J. (2013). Stress Among University Students. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 1(1), 42-48.

Shigemi et al. (1997). The Relationship between job stress and mental health at work. Industrial Health, 35(1), 29-35.

Stundick, B. (1993). Adolescent Stress as a Predictor of Academic Achievement Attendance and Conduct, Dissertation Abstract Internation.

Surapongpiwatana, D. (January 2022). Tips to Say Goodbye to Stress. Doctor for the People. Retrieved from https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2469.

Taylor M. & MacRae A. (2011). What makes a good psychiatrist. The Psychiatrist, 35(2), 75-75.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27