การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, หน่วยบริการปฐมภูมิ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวในจังหวัดอุดรธานี ทำการศึกษา ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว จำนวน 379 คน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และประชุมรับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชนจากแผนงาน/โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 (SD = 0.50) และด้านการวางแผนและตัดสินใจ ด้านการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 (SD = 0.84), ค่าเฉลี่ย 4.12 (SD = 0.89) ตามลำดับ และพบว่า ด้านการประเมินผลแผนงาน/โครงการ อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.87 (SD = 0.72) การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์รูปแบบ 3) ปัจจัยนำเข้า 4) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5) ผลผลิตผลลัพธ์รูปแบบ 6) ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ ภายหลังการใช้รูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ ความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.20 (SD = 0.62) ความเป็นไปได้ ค่าเฉลี่ย 4.10 (SD = 0.55) และความเป็นประโยชน์ ค่าเฉลี่ย 4.24 (SD = 0.62)
เอกสารอ้างอิง
กัลยา วินิชย์บัญชา. (2550). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีระพงษ์ หอมสุวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 31-35.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). รวมบทความวิจัย การวัดและประเมินผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศรีอนันท์.
รัชนีวิภา จิตรากุล และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านจัดการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดมหาสารคาม, วารสารช่อพะยอม, 26(2), 195-208.
วงศา เล้าหศิริวงศ์. (2561). การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์คลังนานา.
วารุณี เปรมสิงห์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตำบลจดัการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 6-12.
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. (2560). สถานการณ์และปัญหาการบริหารงานด้านสาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการสาธารณสุข). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี กลุ่มงานยุทธศาสตร์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุทิน อ้อนอุบล. (2556). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ. (ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press.
Mescon, M. H. et al. (1985) . Management: Individual and Organizational Effectiveness. New York: Harper & Row.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.