การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเครือข่าย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเครือข่าย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 65 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ เครือข่ายชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่เนื้อหาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นำรูปแบบไปใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.8 มีความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 69.2 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 84.6 และมีความเชื่อเกี่ยวกับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 50.8 รูปแบบการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเครือข่าย คือ KTL C2NFS Model ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้เรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทัศนคติเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และความเชื่อเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value < .001) ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเครือข่ายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เอกสารอ้างอิง
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สรุปรายงานการป่วย ปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กชพรรณ ศรีท้วม. (2561). รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 5(3), 43-56.
ตรึงตรา โพธิ์อามาตร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตพื้นที่ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนกฤต จันทร์พลนาม. (2558). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. (ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นันทวรรณ ทิพยเนตร และวชิร ชนะบุตร. (2559). ความรู้เรื่องความเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษา โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2554). โรคหลอดเลือดสมอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
เบญจมาศ มาสิงบุญ. (2566). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 8(1), 411-422.
ประกายทิพย์ พรหมสูตร. (2564). การรับรู้และความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. เข้าถึงจาก http://www.sakhraihospital.com/attach/knowledge (14 สิงหาคม 2566)
ไพรวัลย์ พรมที และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 128-137.
โรงพยาบาลกันทรลักษ์. (2565). รายงานของผู้รับบริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลกันทรลักษ์ ปี พ.ศ. 2565. ศรีสะเกษ.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี : บริษัท แฮนดี เพรส.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). รายงานตัวชี้วัด NCD clinicPlus ปี 2566. เข้าถึงได้จาก https://ssk.hdc. moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=&flag_kpi_year=2023 (24 กุมภาพันธ์ 2566)
อังคาร ปลัดบาง และสุขวรรณ ชุติวัตรพงศธร. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย. เข้าถึงได้จาก https://www2.nkh.go.th/nkh/journal/article.php?id=30 (14 สิงหาคม 2566)
World Stroke Organization (WTO). (2022). About World Stroke Day 2022. Retrieved from https://www.world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/world-stroke-day/world-stroke-day- 2022-tools (2023 Feb24)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.