ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • สันติ สัมฤทธิ์มโนพร โรงพยาบาลสนามชัยเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา, ฉะเชิงเทรา 24160

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, วัคซีน, โรคโควิด-19, การป้องกันโรค, ผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยรูปแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโควิด-19 ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสนามชัยเขต ระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 392 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลสนามชัยเขต จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการฉีดวัคซีน และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบไค-สแควร์ สถิติการถดถอยพหุแบบโลจิสติก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้แก่ จำนวนวัคซีนที่ได้รับมีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของจำนวนวัคซีนที่ได้รับ พบว่า การได้รับวัคซีน 2 เข็ม มีประสิทธิผลในการป้องกันโรควิด-19 เพิ่มขึ้น 1.31 เท่า (95%CI = 1.108 - 1.631) และการได้รับวัคซีน 3 เข็มมีประสิทธิผลในการป้องกันโรควิด-19 เพิ่มขึ้น 1.20 เท่า (95%CI = 1.945 - 2.231) เมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับวัคซีน 1 เข็ม ข้อเสนอเชิงนโยบายการเฝ้าระวังป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้แก่ 1) เพิ่มความครอบคลุมวัคซีนโควิด-19 ในทุกกลุ่มอายุ 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงบริการสะดวก ลดการเดินทางและประหยัดค่าใช้จ่าย และ 3) บูรณาการความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคโควิด-19 ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารจัดการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลรักษาโรคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2565). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 2564 ของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์ พรินท์ จำกัด.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข และคณะ. (2565). ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1). (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมลรัตน์ ขนอม และเฉลียว ผจญภัย. (2566). ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อและภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อของอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษา, 39(1), 46-57.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2565). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2565. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/drive/folders/1aTdHUR2fLawr1WNjrP1fdgwf3uyODMmq (13 มกราคม 2566)

Chuenjai, K. & Punturaumporn, B. (2022). Factors affecting the decision to vaccinate against Coronavirus (COVID-19) of the population in Bangkok. Retrieved from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154037. pdf. (10 May 2022)

Kajhonlit, B. & Panthuramphorn, B. (2021). Factors affecting the decision making on Covid-19 vaccination among the population in Samutprakarn province. Retrieved from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070058.pdf. (10 May 2022)

Royal Thai Government. (2022). Press release on the 2019 coronavirus infection situation. Retrieved from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/41538 (28 April 2022)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-11-01