ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ทิวาภรณ์ ค่อมบุสดี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น, ขอนแก่น 40000, ประเทศไทย
  • หนึ่งบุรุษ ค่อมบุสดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำแก้ว, บึงกาฬ 38170, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไข้เลือดออก, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค, แรงจูงใจป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 253 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบการถดถอยทีละขั้น กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.12 (ค่าเฉลี่ย=3.96, SD=0.66) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก (b=0.767, 95% CI=0.631-0.902, p-value < .001) การรับรู้`โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออก (b=0.152, 95% CI=0.045-0.258, p-value= .005) และความพอเพียงทรัพยากรในการป้องกันโรคไข้เลือดออก (b=0.105, 95% CI=0.023-0.186, p-value= .012) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถอธิบายการทำนายกับพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ร้อยละ 47.90 (R2=0.479) ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดประชุมอบรม และจัดหาทรัพยากรในการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เพียงพอ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนำไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Best, J.W. (1977). Research in education (3rd ed). Prentice Hall, Inc.

Bloom B.S. et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay Company.

Buengkan Provincial Health Office. (2023). Dengue fever in Bueng Kan Province year 2023. Bueng Kan printing.

Conbach, L.J. (1984). Essential of psychology and education. Mc-Graw Hill.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. Wiley & Sons.

Hospital for Tropical Diseases. (2024, January 15). Dengue fever in 2023. https://www.tropmedhospital.com/knowledge/54126.html.

Ngobphoe T. et al. (2021). Factors Related to the Controlling and Prevention Dengue Hemorrhagic Fever for Village Health Volunteers, Nongbuatai Sub-District, Muang District, Tak Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(1), 253-268.

Phonbut, P. (2023). Factors Affecting the Effectiveness of Dengue Control in the Redundant Area, Udon Thani Province [Paper presentation]. Udon Thani Provincial Health Office, Udon Thani, Thailand.

Prentice-Dunn S. & Rogers R. W. (1986). Protection Motivation Theory and preventive health: Beyond the Health Belief Model. Health Education Research, 1(3), 153–161. https://doi.org/10.1093/her/1.3.153

Puakpromma P. et al. (2022). Factors Relating to Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) Preventive Behaviors of People at Bang Krachao Mueang District in Samut Sakhon Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 23(2), 68-77.

Sima, C. (2018). Relationships between personal factors Knowledge level and level of participation in prevention and control of dengue fever among village health volunteers of the Luang Payang Subdistrict Health Promoting Hospital, Nam Ang Subdistrict, Tron District, Uttaradit Province [Paper presentation]. Uttaradit Provincial Health Office, Uttaradit, Thailand.

Siripiyanon, S. (2020). Factors Affecting the Prevention and Control Behavior of Dengue Hemorrhagic Fever of Village Health Volunteers (VHV) at Wachirabarami District Phichit Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 4(8), 85-103.

Sophisai District Public Health Office. (2023). Dengue fever in Sophisai District year 2023. Bueng Kan printing.

Suamark M. & Suwan P. (2023). Factors Related to Performance According of Roles and Duties ofVillage Health Volunteers in Vichit Subdistrict Municipality Area, Mueang Phuket District, Phuket Province. Thai Journal of Public Health and Health Education. 3(2), 14-31

Sunat N. et al. (2021). Factors Predicying Preventive and Control Behaviors on Dengue Hemorragic Fever among People in Koh Chang District, Trat Province. The Public Health Journal of Burapha University, 16(2), 53-67

Suvarnathong P. et al. (2023). Factors Related to Prevention and Control Behavior on Dengue Fever of Village Health Volunteers in the area of Responsibilitysamed Sub-District Health Promoting Hospital, Muang, Chon Buri. Research and Development Health System Journal, 16(3), 169-182.

The Office of Disease Prevention and Control 8 Udon Thani. (2024, January 15). Dengue fever in 2023. https://ddc.moph.go.th/odpc8/.

World Health Organization. (2023). Dengue and severe dengue. https://www.who.int/news-room/questions-and-answers.

World Health Organization. (2023). World Health Statistics 2023. Geneva, WHO.

Wuthidech W. et al. (2021). Factors Affecting the Role of Health Volunteers on Prevention and Control of Dengue Fever in the Repeated Outbreak Areas of Muang District, Uttaradit. Disease Control Journal, 47(1), 804-814.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-04