ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ คำโสภา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสงยาง, ยโสธร 35130, ประเทศไทย
  • ศตายุ ผลแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก, อุบลราชธานี 34190, ประเทศไทย
  • กิตติยา ศรีมาฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก, อุบลราชธานี 34190, ประเทศไทย
  • วุฒิฌาน ห้วยทราย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก, อุบลราชธานี 34190, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรม, สุขภาพช่องปาก, พรีซีดโมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 347 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าสูงสุด-ต่ำสุด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ สถิติฟิชเชอร์ และสถิติสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.94 สถานภาพสมรส ร้อยละ 77.52 อายุเฉลี่ย 69.61 ปี (SD=7.35) ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 67.72 การประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 53.89 รายได้ต่อเดือน มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 800 บาท (IQR = 1,300) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 62.54 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ (r= 0.133, p= .013) ปัจจัยนำด้านความรู้ (r=0.203, p < .001) และทัศนคติเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก (r=0.273, p < .001) ปัจจัยเอื้อ (r= 0.278, p < .001) และปัจจัยเสริม (r= 0.365, p < .001) จากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าแนวคิดพรีซีดโมเดลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก หากสามารถส่งเสริมได้ครอบคลุมปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ก็จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มในการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Best, J.W. (1989). Research in education. New jersey: Prentice-Hall, Inc.

Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of education objective, Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mekey.

Charoenchiangchai R. et al. (2021). Factors Affecting Dental Health Care Behaviors Among Members in the Elderly Club at Sirindhorn Hospital, Medical Service Department, Bangkok Metropolitan Administration. HCU. Journal, 25(1), 102-116.

Dental Public Health Division, Department of Health. (2018). The 8th national oral health survey report, Thailand 2017. Bangkok: Samcharoen Panich.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of the Thai elderly 2017. Bangkok: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Green, L. W., Kreuter, and M. W. (1999). Health promotion planning an educational and ecological approach. (3th ed.). Toronto: Mayfield.

Jirawatkul, A. (2008). Medical and public health statistics (4th ed.). Khon Kaen: Klan Nanna Wittaya.

Kaewmakham, S., & Kaewmakham, A. (2018). Oral Health Related Quality of Life of Homebound Elderly in Chiangkhong District, Chiangrai Province. Chiang Rai Medical Journal, 10(1), 37-47.

Maleelai, K., et al. (2022). Factors Related to Oral Health Care Behavior of the Elderly at Sa Saming Sub-District, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Public Health Academic, 31(3), 437-446.

Nammontri O., et al. (2022). Oral health-related quality of life of elderly in Huai Nua sub-district, Kukhan district, Sisaket province. Dental Public Health Journal, 33(1), 16-21.

Namvicha, K. (2019). Knowledge, Attitudes and Oral Health Behavior of Elderly in Samlong Subdistrict, Phlaprachai District, Buriram Province. Journal of Science and Technology Buriram Rajabhat University, 3(2), 45-56.

Phaonimmongkol, C. (2018). Factors related to dental service needs of the elderly people in Bangbo subdistrict administrative organization, Samut Prakarn province. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 17(2), 10-19.

Pudphong, S. (2020). Factors Related to Oral and Dental Health Care Behaviors of the Elderly in Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Health Science, Boromarajonani College of Nursing, Sanpasithiprasong, 4(1), 102-109.

Sihawong, M. (2019). Health Perception Associated with Oral Health Behaviors of the Elders in Phetchabun Municipality, Muang District, Phetchabun Province. Journal of Public Health Research, 28(3), 418-431.

Subbowon, U. (2019). Oral Health Care Behaviors among the Elderly in Nakhonchaisi Sub-district,Nakhonchaisi District, Nakhon Pathom. Region 4-5 Medical Journal, 38(4), 244-255.

Surasenee Wong, R. (2018). Oral health in the elderly. Journal of Krung Prakarn Hospital, 14(1), 87-100.

Ubon Ratchathani Provincial Public Health Office. (2022, November 17). Oral health examination of elderly by dental personnel (dental) in Health District 10, Ubon Ratchathani, and Sawangwirawong district, 2022. Health data center. Research Institute. https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

Ubon Ratchathani Provincial Public Health Office. (2023, November 15). Elderly population aged 60 and over in Ubon Ratchathani province. Health data center. Research Institute. https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-04