การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ชินสมพล คณะคณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา 30000, ประเทศไทย
  • ณฤดี พูลเกษม คณะคณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา 30000, ประเทศไทย
  • ณัฐวุฒิ กกกระโทก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ 10220, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความเสี่ยงทางการยศาสตร์, อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 127 คน เป็นอาจารย์ประจำ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค Rapid Office Strain Assessment (ROSA) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.7 ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเตรียมการเรียนการสอน ร้อยละ 85.6 ใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 6 ชม./วัน โดยร้อยละ 55.6 ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง (เฉลี่ย 2.0 ชั่วโมง) ส่วนมากอาจารย์มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานในระดับที่สูง ร้อยละ 79.5 รองลงมาคือระดับปานกลางร้อยละ 13.4 และระดับต่ำร้อยละ 3.9 ตามลำดับ จากการใช้แบบประเมินมาตรฐาน ROSA พบความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ พบอยู่ในระดับสูง (6 คะแนน) เสนอแนะให้แก้ไขอย่างเร่งด่วนมีการจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์และท่าทางการทำงานของอาจารย์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและโรคปวดหลังจากการทำงานในระยะยาว

ประวัติผู้แต่ง

สุภาพร ชินสมพล, คณะคณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา 30000, ประเทศไทย

 

 

เอกสารอ้างอิง

Bartuzi P. & Roman-Liu D. (2014). Assessment of muscle load and fatigue with the usage of frequency and time-frequency analysis of the EMG signal. Acta of bioengineering and biomechanics, 16(2), 31-39.

Boonkaew K. & Seewirat A. (2014). The Physical Symptoms that Occur from using Computer of supporting staffs of Nakornphsnom University. Srinakharinwirot University Journal of Science and Technology, 6(12), 26-38.

Butmee, T. (2015). Ergonomics risk factors affecting to work-related musculoskeletal disorders in nurses and prevention. (KKU Journal for Public Health Research), 8(4), 1-5.

David, G.C. (2005). Ergonomic methods for assessing exposure to risk factors for work related musculoskeletal disorders. (Occupational Medicine), 55(3), 190-199.

Karachot, B. (2016). Computer Vision Syndrome. (R&D Newsletter), 12(1), 17-18.

Kingkaew W.M. et al. (2018). Validity and Reliability of the Rapid Office Strain Assessment (ROSA) Thai Version. Journal of the medical association of Thailand, 101(1), 145-149.

Koo T.K. & Li M.Y. (2016). A Guideline of Selecting and Reporting Intraclass Correlation Coefficients for Reliability Research. Journal of Chairopractic Medicine, 15(2), 155-163. https://doi:10.1016/jcm.2016.02.012

Krejcie R.V. & Morgan D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Krusun M. & Chaiklieng S. (2014). Ergonomics risk assessment in University office workers. KKU Research J, 19(5), 696-707.

Laowanich N. (2021). Applying participatory ergonomics to improve working condition for reducing shoulder risk among supporting personnel in a hospital, Chonburi province. Chonburi: Burapha University.

Lemeshow S, Lwanga S.K. (1991). Sample size determination health studies: a practical manual. England: Macmillan.

Sonne M., & Andrews D. (2012). The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of online worker self-assessments and the relationship to worker discomfort. Occupational Ergonomics, 10, 83-101. https://doi:10.3233/OER-2012-0194

Sonne, M. (2010). The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of Online Worker Self-Assessment and The Relationship to Worker Discomfort. (Master Degree of Human Kinetics). University of Windsor, Ontario.

Suriya T., Rattnakool T., & Sukkrajang K. (2015). Assessment of safety behavior of computer users’ office. Case study of Faculty of Industrial Technology, Songkhla Rajabhat University. Proceedings Report on the 6th Hatyai National Conference (pp. 1442-1453.) Songkhla: Hatyai University.

Thai Health Promotion Foundation. (2016, November 20). Computer Vision Syndrome. Retrieved. https://www.thaihealth.or.th/

Vinyoocharoenkul J. & Pochana K. (2015). The Ergonomic Risk Assessment of Computer User by Rapid Office Strain Assessment (ROSA). Journal of (Public Health), 45(2), 148-158.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-04