การศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิรกิติ วงศ์เนตร โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทางคลินิกและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีแนวโน้มที่ทารกแรกเกิดจะมีภาวะตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น โดยภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย และมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retro descriptive study) โดยศึกษาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง 1 มิถุนายน พ.ศ.2560 - 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563 โดยทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกและมารดา บันทึกข้อมูลภาวะตัวเหลือง และสาเหตุของการเกิดภาวะตัวเหลืองในผู้ป่วย และข้อมูลการกลับมานอนโรงพยาบาลรักษาตัวซ้ำด้วยภาวะตัวเหลืองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา : ทารกแรกเกิดจำนวน 3,480 รายที่คลอดที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดจำนวนทั้งหมด 546         ราย (ร้อยละ 15.6) โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเหลืองพบว่าเกิดจากภาวะทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ (Breast feeding jaundice) มากที่สุด ร้อยละ 55.5 สาเหตุรองลงมา คือเกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร้อยละ 15.7 สาเหตุถัดมา คือ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) ร้อยละ 14.8 สาเหตุตัวเหลืองจากนมมารดา ร้อยละ 7.8 สาเหตุทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 3.1 และเกิดภาวะเหลืองจากทารกแรกเกิดติดเชื้อ ร้อยละ 2.1 ซึ่งทารกทุกรายได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ และไม่มีทารกต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดจากภาวะตัวเหลือง และมีทารกที่ต้องได้รับการนอนโรงพยาบาลเพื่อส่องไฟซ้ำ 42 ราย

สรุป: อุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดพบมากที่สุดคือ การที่ทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอในช่วงแรกเกิด รองลงมาได้แก่ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD และหมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน

เอกสารอ้างอิง

Mitra S, Rennie J. (2017). Neonatal jaundice: aetiology, diagnosis and treatment. Br J Hosp Med (Lond), 78(12):699-704.

Pan DH, Rivas Y. (2017). Jaundice: Newborn to Age 2 Months. Pediatr Rev, 38(11):499-510.

โสภาพรรณ เงินฉ่ำ. Neonatal jaundice ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. บรรณาธิการ. (2559). ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช : ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล :176-91.

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาที่พบบ่อยในทารก. ใน. (2554). การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล :185-94.

Battersby C, Michaelides S, Upton M, Rennie JM. (2017). Term admissions to neonatal units in England: a role for transitional care A retrospective cohort study. BMJ Open, 7(5):e016050.

stoll BJ, Kleigman RM. Jaundice and hyperbilirubinemai in newborn. In: Richard E. Behrman, edited. (2004). Nelson textbook of pediatric. 17th ed. Philadelphia, Pa : Saunders :592-9.

Kosarat S, Khuwuthyakorn V. (2013). Accuracy of Transcutaneous Bilirubin Measurement in Term Newborns. J Med Assoc Thai, 96(2):172-7.

Kiatchoosakun P, Jirapradittha J, Areemitr R, Sumitr Sutra, Thepsuthammarat K. (2012). Current challenges in Reducing Neonatal Morbidity and Mortality in Thailand. J Med Assoc Thai, 95(Suppl 7):S17-23.

Christine A Gleason, Sherin U Devaskar, edited. (2012). Routine newborn care, jaundice. In. Avery’s diseases of the newborn. 9th ed. Philadelphia : Elsevier Saunders :311-2.

Bhutani VK, Stark AR, Lazzeroni LC, Poland R, Gourley GR, Kazmierczak S. et al. (2013). Predischarge screening for severe neonatal hyperbilirubinemia identifies infants who need phototherapy. J Pediatr, 162(3):477-82.

Ketsuwan S, Baiya N, Maelhacharoenporn K, Puapornpong P. (2017). The Association of Breastfeeding Practices with Neonatal Jaundice. J Med Assoc Thai, 100(3):255-61.

Engle WD, Jackson GL, Engle NG. (2014). Transcutaneous bilirubinometry. Semin Perinatol, 38(7):438-51.

Panburana J, Boonkasidach S, Rearkyai S. (2010). Accuracy of Transcutaneous Bilirubinometry Compare to Total Serum BIlirubin Measurement. J Med Assoc Thai, 93(Suppl 2):S81-6.

Taylor JA, Burgos AE, Flaherman V, Chung EK, Simpson EA, Goyal NK, et al. (2015). Discrepancies between transcutaneous and serum bilirubin measurements. Pediatrics, 135(2):224-31

National Institute for Health and Care Excellence (UK). (2016). Jaundice in newborn babies under 28 days. NICE Clinical Guidelines, 98:1-25.

สุขุมาล หุนทนทาน. (2557). การศึกษาความชุก ความเสี่ยงทางคลินิกและผลการรักษาของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุชราชด่านซ้าย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(4):21-34.

Setia S, Villaveces A, Dhillon P, Mueller BA. (2002). Neonatal jaundice in Asian, White, and Mixed-Race Infants. Arch Pediatr Adolesc Med, 156(3):276-9.

Brits H, Adendorff J, Huisamen D, Beukes D, Botha K, Herbst H, et al. (2018). The prevalence of neonatal jaundice and risk factors in healthy term neonates at National District Hospital in Bloemfontein. Afr J Prim Health Care Fam Med, 10(1):e1-e6.

Maisels MJ, Kring E. (2006). The contribution of Hemolysis to Early Jaundice in Normal Newborns. Pediatrics, 118(1):276-9.

ปอลิน จั่นจุ้ย. (2556). ความชุกของการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่มาตรวจติดตามภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในโรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Chaisawan K. (2018). Factors Related to Hyperbilirubinemia in New Born. Royal Thai Navy Medical Journal, 45(2): 235-49.

ณัชชา สะโสม. (2556). การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: รายงานการวิจัย โรงพยาบาลกันทรลักษณ์.

Carvalho CG, Castro SM, Santin AP, Zaleski C, Carvalho FG, Giugliani R. (2011). Glucose-6-phosphate-dehydrogenase deficiency and its correlation with other risk factor in jaundice newborns in Southern Brazil. Asian Pac J Trop Biomed, 1(2):110-3.

Ajay K, Amit D. (2015). Etiology, risk factors and morbidity profile associated with neonatal hyperbilirubinemia in a tertiary care hospital. Journal of Pediatrics Association of India, 4(3):131-42.

Thaithumyanon P. (2000). Hemolytic disease of the newborn. J Hematol Transfus Med, 10:253-7.

อำไพพรรณ สามัง, ศศิธร เพชรจันทร, อ้อยทิพย์ ณ ถลาง, พิศณุพงษ์ พลับจุ้ย, ปาริชาติ เพิ่มพิกุล. (2554). การตรวจหาแอนติบอดีของหมู่เลือดชนิด IgG ของมารดาเพื่อการให้เลือดที่ปลอดภัยในทารกแรกเกิด ณ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 21(1):5-13.

นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 20(1):19-30.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน