การพยาบาลผู้ป่วยโรคเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน (UGIB) ที่มีภาวะช็อกและหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อมรวรรณ มาแสง หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน (UGIB) ที่มีภาวะช็อกและหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 - 17 พฤษภาคม 2556 กรณีศึกษาคือ ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 47 ปี ไปรรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนด้วยอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซีด เหนื่อยเพลีย หายใจหอบ เหงื่อออกตัวเย็น แล้วส่งต่อมาโรวพยาบาลชัยภูมิด้วยอาการสำคัญคือ ถ่ายและอาเจียนเป็นเลือด อาการแรกรับที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCT = 5.1 vol%, WBC = 20.5 k/μL, RBC = 0.77m/μL, HGB = 1.6 g/dL, MCV = 67.1 Fl, MCH = 20.8 Pg, MCHC = 31.0 g/dL, RDW = 21.6%, Plt. Count = 341 k/μL, Platelet smear = Adequate, NE = 87.0%, LY = 10.0%, MO = 2.0%, EO = 1.0%, BA = 0%, Rbc morphology = Abnormal, NRBC = 6.0, Microcyte = 1+, Hypochromia = 3+, BUN = 69 mg./dL, Creatinine = 2.8 mg./dL, PT = 16.7 sec. INR = 1.5, aPTT = 24.7, PTTRatio = 0.85, Sodium (Na) = 142 mmol/L, Potassium (K) = 5.1 mmol/L, Chlorine (Cl) = 116, Bicarbonate (CO2) = 11 mmol/L รับไว้รักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 การรักษาที่ได้รับคือใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้ bird's respirator setting Assisted control, rate = 20/m, PIP = 12 cmHO2,  PEEP = 5 cmHO2, FiO2 = 100%, Retain Foleys cath. ให้ 0.9% NSS 2,000 ซีซี Free flow และ 120 cc/hr., PRC 4 u, FFP 2 u iv. Losec 80 mg. iv. stat และ 40 mg. iv. q 12  hr. Kalimate 30 gms. สวนทาวทวารหนัก, Cef3 2 gm. iv. OD, Octreotide 50 mg. iv. drip, Vit K 10 mg. iv. OD, 7.5 NaHCO3 50 cc. iv. push, Beradual 1 NB พ่น q 4 hr. Clinda 600 mg. iv. q 8 hr.colchicin (0.6) 1x3 O pc พบปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญดังนี้ 1) มีภาวะช็อกเนื่องจากมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน 2) การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าชลดลงจากภาวะซีดจากพยาธิสภาพของโรค 3) มีภาวะความเสียสมดุลของสารน้ำ และ electrolyte เนื่องจากการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด งดน้ำและอาหาร 4) การขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเสมหะเหนียวข้น แผลที่คาหลอดลมไว้ ทำให้การไอไม่มีประสิทธฺภาพ 5) การสื่อสารด้วยคำพูดบกพร่องเนื่องจากขาดความรู้และทักษะในการสื่อสารขณะคาท่อหลอดลมคอจากพยาธิสภาพของโรค 6) เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเกิดหลอดเลือดดำอักเสบเนื่องจากได้รับสารน้ำและเลือด 7) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ไม่เพียงพอในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน หลังเข้ารับการรักษาได้ 7 วัน ให้การรักษาและพยาบาลผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามแก่ชีวิต การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การจัดการอาการรบกวน การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็น ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถรับประทานอาหารเองได้ และกลับบ้านนัดตรวจซ้ำอีก 2 สัปดาห์

เอกสารอ้างอิง

วิทยา ศรีดามา. Clinical Practice guideline ทางอายุรกรรม 2542-2543. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2556. ชัยภูมิ : ไทยเสรีการพิมพ์, 2556

วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2 . ขอนแก่น : หจก.ขอนแก่นการพิมพ์, 2542.

เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ : หจก.วี เจ พริ้นติ้ง, 2541.

ศิริรัตน์ เชาวรัตน์ และผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ผดุงสาร, 2535.

บุปผา ขันแข็ง. การดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร. กรุงเทพฯ : หจก.ลดาวัลย์ พริ้นติ้ง, 2538.

สมจิต หนูเจริญกุล. แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สหมิตร เมดิเพลส, 2537.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20