การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดภายหลังการใช้ Phukieo Breast Milk Protocol ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิรกิติ วงศ์เนตร โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, Breastfeeding jaundice

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทางคลินิกและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและมีแนวโน้มที่ทารกแรกเกิดจะมีภาวะตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟเป็นจำนวนมาก ทำให้มารดาและทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ร่วมกับเสียค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดภายหลังการใช้ Phukieo Breast Milk protocol ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

กลุ่มตัวอย่างและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) โดยศึกษาในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองก่อนใช้ Phukieo Breast Milk protocol โดยทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เปรียบเทียบกับ ทารกแรกเกิดหลังใช้ Phukieo Breast Milk protocol ระหว่าง 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562โดยทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกและมารดาบันทึกข้อมูลภาวะตัวเหลืองค่าบิลิรูบินใน เลือดและสาเหตุของการเกิดภาวะตัวเหลืองในผู้ป่วยและข้อมูลการกลับมานอนโรงพยาบาลรักษาตัวซ้ำด้วย ภาวะตัวเหลืองของผู้ป่วย

ผลการศึกษา : ความสัมพันธ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดก่อนการใช้ Phukieo Breast Milk protocol ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติจำนวนทารกคลอดทั้งหมด 290 ราย พบทารกที่มีภาวะตัวเหลืองหลังคลอด 98 ราย (33.8%)พบว่าเกิดจากภาวะทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ (Breast feeding jaundice) มากที่สุด 61 ราย (62.2%) สาเหตุรองลงมา คือเกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD 14 ราย (14.3%) สาเหตุถัดมา คือ ABO incompatibility 11 ราย (11.2%) ทารกทุกราย รับการรักษาด้วยการส่องไฟและไม่มีทารกต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดจากภาวะตัวเหลือง และมีทารกที่ต้องได้รับการนอนโรงพยาบาลเพื่อส่องไฟซ้ำ 10 ราย 

หลังการใช้  Phukieo Breast Milk protocol จำนวนทารกคลอดทั้งหมด 286 ราย พบทารกที่มีภาวะตัวเหลืองหลังคลอด 84 ราย (ร้อยละ 29.3) เกิดจากทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ 46 ราย (ร้อยละ 54.8) เกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD 16 ราย (ร้อยละ 19) เกิดจากสาเหตุ ABO incompatibility14ราย (ร้อยละ16.7)ทารกทุกรายได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟและไม่มีทารกต้องได้รับการ เปลี่ยนถ่ายเลือด และมีทารกที่ต้องได้รับการนอนโรงพยาบาลเพื่อส่องไฟซ้ำ 4 ราย 

สรุป : การใช้ Phukieo Breast Milk protocol ถือเป็นแนวทางในการช่วยกระตุ้นและผลักดันให้มารดา เห็นถึง ความสำคัญในการให้นมลูกโดยควรให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดการเกิดภาวะตัวเหลือง จากการได้รับ นมมารดาไม่เพียงพอจะทำให้ทารกเจริญเติบโตมีสุขภาพดีและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของ ทั้งโรงพยาบาลและตัวผู้ปกครอง

เอกสารอ้างอิง

ปิติพร ศิริพัฒนพิพงษ์. (2561). ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการกินนมแม่. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 57(1):4-9.

ผกาพรรณ เกียรติชูสกุล. ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด. ใน: สุขชาติ เกิดผล, [บรรณาธิการ]. (2552). วิชากุมารเวชศาสตร์. ขอนแก่น : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Juliann, W. (2008). Risk of serious jaundice in newborns accurately predicted by simple test. [Online] from http://www.medicalnewstoday.com/articles/ 93633.php. [Retrieved October 1, 2008]

Stoll BJ, Kleigman RM. Jaundice and hyperbilirubinemia in newborn. In: Behrman RE, Kleignman RM, Jenson HB, editors. (2004). Nelson Textbook of pediatrics. 16thed. Pennsylvania : WB SAUNDER Company, 592-9.

Christine A. Gleason, Sherin U. Devaskar. [editor]. (2012). Avery’s diseases of the newborn. 9th ed. Philadelphia : Elsevier Saunders.

โสภาพรรณ เงินฉ่ำ. Neonatal jaundice ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2559). ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช : ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

Kramer LI. (1969). Advancement of Dermal Icterus in the Jaundiced Newborn. American Journal of Diseases of Children, 118(3):454-8.

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาที่พบบ่อยในทารก. ใน: วิทยา ถิฐาพันธ์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, กติกา นวพันธุ์, ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ [บรรณาธิการ]. (2554). เวชศาสตร์ปริกำเนิด คัดกรอง & ป้องกัน & ส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย.

Lucas A, Morley R, Cole TJ, Lister G and Leeson-Payne C. (1992). Breast milk and subsequent intelligence quotient in children born preterm. Lancet, 339(8788):261-4.

Angelson NK, Vik T, Jacobson G, and Bakketeig LS. (2001). Breast feeding and cognitive development at age 1 and 5 years. Arch Dis Children, 85(3):183-8.

ปอลิน จั่นจุ้ย. (2556). ความชุกของการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ที่มาตรวจติดตามภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในโรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23