การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับทรวงอกที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีภาวะลม/น้ำในเยื่อหุ้มปอดและแผลติดเชื้อดื้อยา: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรสา ชัยจันดี หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับทรวงอก, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, การบาดเจ็บที่ศีรษะ, ลมและน้ำในเยื่อหุ้มปอด, แผลติดเชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับทรวงอกที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง: กรณีศึกษา โดยศึกษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย และหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (SICU) โรงพยาบาลชัยภูมิ เริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม - 6 กันยายน 2562 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 18 ปี มาด้วยอาการสำคัญคือ ขับ MC ล้มเอง มีแผลฉีกขาดที่ใบหน้า ชาขา 2 ข้าง เป็นมา 30 นาที  สลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ มูลนิธินำส่งแพทย์วินิจฉัย Fracture dislocate of T4-T5 + Complete cord injury  + Mild HI moderate risk รับไว้รักษาวันที่ 12 กรกฎาคม 2562  ที่หอผู้ป่วย ศัลยกรรมชาย 1 1 วัน และย้ายไปหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย วันที่ 13 กรกฎาคม 2562 เข้ารับการผ่าตัด  Decompressive laminectomy T2-T7 with pedicular screw with posterior lateral fusion วันที่ 15 กรกฎาคม 2562  หลังผ่าตัด ย้ายเข้ารับการรักษาต่อที่ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (SICU On ET-Tube with Ventilator) สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ย้ายกลับหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย ขณะนอนรักษาตัวผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในปอด พบว่ามีภาวะ Hemopneumothorax ทำ ICD และมีภาวะแทรกซ้อนเกิดแผลกดทับระดับ 3 แพทย์ทำผ่าตัด Debridement วันที่ 29 สิงหาคม 2562 และส่งปรึกษากายภาพบำบัดสำหรับเตรียม Home programe  จนกระทั่งจำหน่ายทุเลาในวันที่ 6 กันยายน 2562 จำนวนวันนอนรวมทั้งสิ้น 56 วัน  ผลที่ได้จากการศึกษาพบปัญหาทางการพยาบาล ตามระยะ ดังนี้ ระยะวิกฤต  ระยะก่อนผ่าตัด  ระยะหลังผ่าตัด  ระยะอยู่ใน SICU  ระยะเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่าย

จากปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละระยะ นำสู่การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและผู้ป่วยได้รับการวางแผนจำหน่ายในรูปแบบ D-METHOD โดยทีมสหสาขาวิชาชีพมีการติดตามเยี่ยมที่บ้านอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งระบบให้คำปรึกษาเมื่อผู้ป่วยและญาติพบปัญหา 

เอกสารอ้างอิง

ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม. [บรรณาธิการ]. (2559). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ.

กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยามหิดล.

ไชยพร ยุกเซ็น, ธาริณี ไตรณรงค์สกุล และ ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. [บรรณาธิการ]. (2559). การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งตัวเหมือนท่อนไม้กลิ้งและการใส่แผ่นกระดานรองหลังชนิด. ใน. Emergency care : the pocket guide book. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล :485-9.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, ชูศักดิ์ กิจคณุาเสถียร สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ และ สรศักดิ์ ศุภผล. [บรรณาธิการ]. (2554). กระดูกหักข้อเคลื่อนที่กระดูกสันหลัง. ใน. ออร์โธปิดิกส. ฉบับเรียบเรียงใหม่ ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง :213-40.

อัจฉรา พุ่มดวง. [บรรณาธิการ]. (2555). การพยาบาลพื้นฐาน : ปฏิบัติการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภาการชาดไทย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดระบบประสาทไขสันหลังและกระดูกสันหลัง. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2556). ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, ธีรพร สถิรอังกูร และทิพย์สุดา ลาภภักดี. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. นนทบุรี : สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังสำหรับพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23