ประสิทธิผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่ออุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจ โดยไม่ได้วางแผน หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย
คำสำคัญ:
การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน, การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย และประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย ต่ออุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned Extubation: UE) หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย กลุ่มผู้ร่วมศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 16 คน และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 154 ราย ระหว่างเดือน พฤษภาคม - กันยายน 2561 ศึกษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบๆ ละ 4 ขั้นตอน ของ Kemmis และ McTagart (1998) ได้แก่ 1) วางแผนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้สอดคล้องกับบริบท 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตการณ์ และ 4) การสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติร้อยละ
หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลเลยให้บริการผู้ป่วยวิกฤตทุกประเภท มีอุบัติการณ์การเกิด UE ปี 2558 - 2560 ร้อยละ 18.25, 20.88 และ 21.18 ตามลำดับ ในหน่วยงานมีการป้องกันการเกิด UE โดยผูกมัดผู้ป่วยทุกราย แต่ยังพบการเกิด UE เนื่องจาก วิธีการผูกมัดไม่เหมาะ อุปกรณ์ชำรุด และไม่มีการติดตามประเมินความเสี่ยงของการเกิด UE อย่างต่อเนื่อง จึงนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือ 1) พัฒนาด้านบุคลากร ได้แก่ การให้ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการป้องกัน UE 2) การมอบหมายงานและใช้พยาบาลพี่เลี้ยงกำกับการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ 3) การเยี่ยมประเมินผู้ป่วย (UE round) ก่อน-หลังรับเวร หลังทำหัตถการ และภายหลังการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย 4) นำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน มาใช้ในหน่วยงาน 5) การสื่อสารและบันทึก UE และ 6) การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการผูกมัดผู้ป่วยให้เพียงพอและพร้อมใช้
หลังการพัฒนาระบบ พบว่า อุบัติการณ์การเกิด UE เดือนมิถุนายน 2561 ร้อยละ 9.70 และเดือนกันยายน 2561 ลดลงเหลือ ร้อยละ 3.70 และพยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ร้อยละ 89.50
สรุป ระบบการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกัน UE ประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือ การพัฒนาด้านบุคลากร การมอบหมายงาน UE round นำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน UE มาใช้ในหน่วยงาน การสื่อสารและบันทึก UE และการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการผูกมัดผู้ป่วยให้เพียงพอและพร้อมใช้ ซึ่งภายหลังการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย พบว่า อุบัติการณ์การเกิด UE ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีแนวโน้มลดลง ซึ่งต้องมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในการป้องกัน UE ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Silva PS, Fonseca MC. (2012). Unplanned endotracheal extubations in the intensive care unit: systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Anesth Analg, 114(5):1003-14.
สมจิตต์ แสงศรี. (2555). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Smilow R. (2013). Minimizing self-extubation. Nursing 2019 Critical Care, 8(5):44-7.
McNett M, Kerber K. (2015). Unplanned extubations in the icu : Risk factors and strategies for reducing adverse events. JCOM, 22(7):303-11.
Donabedian A.Selecting Approaches to Assessment Performance : An Introduction Quality Assurance in Health Care. (online).2003. Available from : https:// books.google.co.th/book [cited 2018 Aug 25]
Kemmis S, McTaggart R. (1988). The action research planner. (3rd ed.). Victoria : Deakin University.
ณฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง และจีรพร จักษุจินดา. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2):37-46.
Chien-Ming Chao, Mei-I. Sung, Kuo-Chen Cheng, Chih-Cheng Lai, Khee-Siang Chan, Ai-Chin Cheng, et al. (2017). Prognostic factors and outcomes of unplanned extubation. Sci Rep, 7:8636.
สมพร นรขุน, รัชนี นามจันทรา และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2559). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(1):72-84.
Mohammed HM, Ali AA. (2018). Nursing issues of unplanned extubation in icu. International Journal of Nursing Science, 8(2):17-20.
Chao CM, Lai CC, Chan KS, Cheng KC, Ho CH, Chen CM, et al. (2017). Multidisciplinary interventions and continuous quality improvement to reduce unplanned extubation in adult intensive care units. Medicine (Baltimore), 96(27):e6877.
อรนิภา รสฉ่ำ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง และอาภรณ์ ดีนาน. (2554). ประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ. เอกสารประกอบการประชุม The 12 th Graduate research conference Khon Kaen University, 2554, 1001-2014.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.