ผลการรักษาผู้ป่วยนิ่วในท่อไตด้วยวิธีส่องกล้องท่อไต (URS) และวิธีการสลายนิ่ว ด้วยคลื่นเสียงความความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูง (ESWL) ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เชฏฐา ฐานคร กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ผลการรักษา, นิ่วในท่อไต, การส่องกล้องท่อไต, การสลายนิ่วด้วยคลื่นความถี่สูง

บทคัดย่อ

บทนำ : นิ่วในท่อไตเป็นปัญหาสาธารณสุข ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดจุกเสียดท้อง หรือปัสสาวะเป็นเลือดและในที่สุดจะเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ การรักษาด้วยวิธีส่องกล้องท่อไต (URS) และวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูง (ESWL) เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการจัดการนิ่วในท่อไตเนื่องจากไม่มีบาดแผลผ่าตัด เจ็บปวดน้อย นอนโรงพยาบาลในระยะสั้นสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษานิ่วท่อในท่อไตด้วยวิธีการส่องกล้องท่อไตกับวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความพันธ์กับผลการรักษานิ่วในท่อไตด้วยวิธีการส่องกล้องท่อไตกับวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบวิเคราะห์ย้อนหลังผู้ป่วยนิ่วในท่อไตจำนวน 100 ราย ที่เข้ารับการรักษาใน กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2561-63  คัดเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ และ ตามเกณฑ์การเข้ารับการศึกษาผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องท่อไตจำนวน 50 ราย และวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูง จำนวน 50 ราย โดยศึกษาข้อมูลทั่วไป อาการและอาการแสดงทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อนและผลการรักษา ใช้สถิติเชิงพรรณนาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก และผลการรักษา ใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลการรักษาทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้ Chi-square test, Fisher Exact Test และ Independent sample t-test นำเสนอด้วย  odds ratio with 95% confidence interval ที่ p-value <0.05

ผลการศึกษา : เปรียบเทียบผลการรักษานิ่วในท่อไตโดยไม่มีนิ่วค้างในท่อไตในครั้งเดียว พบว่าด้วยวิธี URS ให้ผลดีกว่าการรักษาวิธี ESWL (OR, 0.37, 95% CI 0.14-0.96) โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาด้วยวิธี URS และวิธี ESWL พบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการรักษาผู้ป่วยนิ่วในท่อไต (OR,-14.5; 95% CI, -24.1-4.9 ) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนขนาดของนิ่วในท่อไตโรคร่วม ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ดัชนีมวลกาย และอายุของผู้ป่วยนั้นพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05)

สรุป : การรักษานิ่วในท่อไตด้วยวิธี URS โดยให้การรักษาให้การรักษาเพียงครั้งเดียว มีนิ่วค้างท่อไตน้อยกว่า, การรักษาซ้ำที่น้อยกว่า และการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาไม่แตกต่างกัน

เอกสารอ้างอิง

Jeevaraman S, Selvaraj J, Niyamathullah NM. A Study on Ureteric Calculi. International journal of contemporary medical research, 2016;3(10):2969-72.

Sierakowski R, Finlayson B, Landes RR, Finlayson CD, Sierakowski N. The frequency of urolithiasis in hospital discharge diagnoses in the United States. Invest Urol, 1978;15(6):438–41.

Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, Soga N, Kameda K, Sriboonlue P, et al. Incidence of urolithiasis in northeast Thailand. Int J Urol, 1997;4(6):537-40.

Masarani M, Dinneen M. Ureteric colic: new trends in diagnosis and treatment. Postgrad Med J, 2007;83(981):469–72.

Brenner DJ, Hall EJ. Computed tomography--an increasing source of radiation exposure. N Engl J Med, 2007;357(22):2277-84.

Zilberman DE, Tsivian M, Lipkin ME, Ferrandino MN, Frush DP, Paulson EK, et al. Low dose computerized tomography for detection of urolithiasis – its effectiveness in the setting of the urology clinic. J Urol, 2011;185(3):910-4.

Mariappan P, Loong CW. Midstream urine culture and sensitivity test is a poor predictor of infected urine proximal to the obstructing ureteral stone or infected stones: a prospective clinical study. J Urol, 2004;171(6 Pt 1):2142-5.

Lee YH, Tsai JY, Jiaan BP, Wu T, Yu CC. Prospective randomized trial comparing shock wave lithotripsy and ureteroscopic lithotripsy for management of large upper third ureteral stones. Urology, 2006;67(3):480-4.

Chen DY, Chen WC. Complications Due to Surgical Treatment of Ureteral Calculi. Urol Sci, 2010;21(2):81-7.

Tiselius HG, Ackermann D, Alken P, Buck C, Conort P, Gallucci M. Guidelines on urolithiasis. Eur Urol, 2001;40(4):362-71.

Sprunger JK, Herrell 3rd SD. Techniques of ureteroscopy. Urol Clin North Am, 2004;31(1):61–9.

Elashry OM, Elgamasy AK, Sabaa MA, Abo-Elenien M, Omar MA, Eltatawy HH, et al. Ureteroscopic management of lower ureteric calculi: a 15-year single-centre experience. BJU Int, 2008;102(8):1010–7.

Kehinde EO, Al-Awadi KA, Al-Hunayan A, Okasha GH, Al-Tawheed A, Ali Y. Morbidity associated with surgical treatment of ureteric calculi in a teaching hospital in Kuwait. Ann R Coll Surg Engl, 2003;85(5):340–6.

Harmon WJ, Sershon PD, Blute ML, Patterson DE, Segura JW. Ureteroscopy: current practice and long-term complications. J Urol, 1997;157(1):28–32.

Krambeck AE, Murat FJ, Gettman MT, Chow GK, Patterson DE, Segura JW. The evolution of ureteroscopy: a modern singleinstitution series. Mayo Clin Proc, 2006;81(4):468–73.

Grasso M. Ureteropyeloscopic treatment of ureteral and intrarenal calculi. Urol Clin North Am, 2000;27(4):623–31.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติผู้ใช้บริการ ปี 2561-63. ชัยภูมิ : กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2563.

สรวิชช์ ลดาวัลย์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษานิ่วในท่อไตส่วนปลายระหว่างการส่องกล้อง (URS) และการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ESWL). วารสารแพทย์เขต 4-5, 2559;35(3):114-23.

William D. Dupont, Walton D, Plummer Jr. PS - Power and Sample Size Calculation. Online. 2011. [cited : 2010 , 12 September] available : http://biostat.mc.vanderbilt.edu/wiki/Main/PowerSampleSize

El-Qadhi M. Outcome of ureteroscopy for the management of distal ureteric calculi: 5-years’ experience. African J of urology, 2015;21(1):67-71.

Javanmard B, Razaghi MR, Ansari Jafari A, Mazloomfard MM. Flexible ureterorenoscopy versus extracorporeal shock wave lithotripsy for the treatment of renal pelvis stones of 10-20 mm in obese patients. J Lasers Med Sci, 2015;6(4):162–6.

Tiloklurs C, Taweemonkongsap T, Amornvesukit T, Phinthusophon K, Nualyong C, Chotikawanich E. Comparison of Successful Treatment between Ureteroscopic Lithotripsy and Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy for Proximal Ureteric Calculi. J Med Assoc Thai, 2017;100(3):150-4.

Ghalayini IF, Al-Ghazo MA, Khader YS. Extracorporeal shockwave lithotripsy versus uroteroscopy for distal ureteric calculi: efficacy and patient satisfaction. Int Braz J Urol, 2006;32(6):656–64.

Verze P, Imbimbo C, Cancelmo G, et al. Extracorporeal shock wave lithotripsy vs ureteroscopy as first – line therapy for patients with single, distal ureteric stones: a prospective randomized study. BJU Int, 2010;106(11):1748–52.

Fankhauser CD, Weber D, Mu¨ntener M, Poyet C, Sulser T, Hermanns T. Effectiveness of Flexible Ureterorenoscopy Versus Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy for Renal Calculi of 5–15 mm: Results of a Randomized Controlled Trial. European urology open science, 2021;25:5-10.

Rehman Muhammad FUr, Adnan M, Hassan 3rdA, Akhtar FH, Javed N, Ali F. Comparison of Ureteroscopic Pneumatic Lithotripsy and Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy for Proximal Ureteral Calculi. Cureus, 2020;12(4):e7840.

Tripathi SP, Jain DK, Kumar MD, Pathak P. Comparative Study of Ureteroscopy Versus Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy in Management of Upper Ureteric Calculi. Innovative J of Medical and Health Science, 2018;8(7):88-93.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29