ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ลือมงคล Department of Social Medicine, Chaiyaphum hospital

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเรียนออนไลน์, โควิด-19

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรงเรียนหลายแห่งต้องเปลี่ยนการเรียนจากระบบปกติไปเป็นการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้นักเรียนเกิดความเครียด การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาในชั้นเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาซึ่งถูกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองระหว่างเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (AOR) และช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 1,379 คน มีอายุเฉลี่ย 14+1.4 ปี อัตราความชุกของความเครียดเท่ากับร้อยละ 18.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด คือ เพศหญิง (AOR = 2.09, 95%CI: 1.55-2.81, p < 0.001) การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ของผู้ปกครอง (AOR = 1.80, 95%CI: = 1.34-2.41, p < 0.001) ภาระงานที่มากขึ้นในการเรียนออนไลน์ (AOR = 2.26, 95%CI: 1.44-3.55, p < 0.001) สมาธิในการเรียนลดลงในช่วงการเรียนออนไลน์ (AOR = 1.51, 95%CI: 1.09-2.10, p = 0.013) การขาดแรงจูงใจในการเรียนจากการเรียนออนไลน์ (AOR = 1.96, 95%CI: 1.44-2.68, p < 0.001) การขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในการเรียนออนไลน์ (AOR = 1.57, 95%CI: 1.15-2.15, p = 0.004) และการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (AOR = 1.44, 95%CI: 1.05-1.97, p = 0.021)

            สรุปอภิรายผล: การศึกษานี้บ่งชี้ว่า ความชุกของความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาไม่สูงมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม โรงเรียนควรมีการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อค้นหานักเรียนที่มีความเครียด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดความเครียดสะสมจนก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชที่รุนแรง

เอกสารอ้างอิง

BBC ไทย. จากอนุบาล 1 ถึงอาชีวศึกษา วันแรกของการเรียนออนไลน์ในยุคโควิด- 19. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563]. จาก https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/new4151848

ศูนย์ข่าวภาคใต้. ต้องเน้นเชิงรุก การศึกษาหลังยุคโควิด-19. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2563]. จาก https://mgonline.com/sounth/deail/9630000056121

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. ปัญหาการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2564]. จาก http://rep2.moe.go/th/home/index.php/site-administrator/2018-11-02-03-22-34/763-19-23-25563

AlAteeq DA, Aljhani S, AlEesa D. Perceived stress among students in virtual classrooms during the COVID-19 outbreak in KSA. J Taibah Univ Sci, 2020;15(5):398-403.

Jena PK. Online learning during lockdown period for Covid-19 in India. International Journal of Multidisciplinary Educational Research, 2020;9(8):82-92.

Livana PH, Mubin MF, Basthomi Y. ‘‘Learning task’’ Attributable to students’ stress during the pandemic Covid-19. Journal Ilmu Keperawatan Jiwa, 2020;3(2):203-8.

สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. การเรียนออนไลน์ในสถานกาณ์ Covid-19. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 26 มกราคม 2564]. จาก https://www.ryt9.com/s/abcp/3134816

Muilenburg LY, Berge ZL. Student barriers to online learning: a factor analytic study. Distance Educ, 2005;26(1):29-48.

โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา. ข้อมูลนักเรียน. [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โรงเรียน; 2563.

คลินิกวัยรุ่น โรงพยาบาลชัยภูมิ. ปัญหาความเครียดของนักเรียน. [เอกสารอัดสำเนา]. ชัยภูมิ: โรงพยาบาล; 2563.

อรวรรณ ศิลปะกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 2551;16(3):177-85.

สิรินิตย์ พรรณหาญ, บุญมี พันธุ์ไทย, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการ เรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปกร ฉบับมนุษย์ ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะศาสตร์, 2563;11(3):2579-93.

Muilenburg LY, Berge ZL. Student barriers to online learning: a factor analytic study. Distance Educ, 2005;26(1):29-48.

Abdulghani HM, Sattar K, Ahmad T, Akram A. Association of COVID-19 pandemic with undergraduate medical students’ perceived stress and coping. Psychol Res Behav Manag, 2020;13:871-81.

Goldstein JM, Jerram M, Poldrack R, Ahem T, Kennedy DN, Seidman LJ, et al. Hormonal cycle moduled arousal circuitry in Woman using functional magnetic resonance imaging. J Neurosci, 2005;25(40):9309-16.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29