สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตาบอดและสายตาเลือนลางในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
เบาหวานจอตา, ตาบอด, จอประสาทตาลอกหลุด, ต้อหินจากเส้นเลือดงอกผิดปกติบทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยที่มีเบาหวานที่มีสายตาเลือนรางและตาบอดเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่จอตา และเป็นปัญหาที่สำคัญที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ดังนั้นการศึกษาปัจจัยเสี่ยงสูงที่ทำให้ตาบอดจะทำให้สามารถพัฒนาการรักษาผู้ป่วย และลดการตาบอดในคนไข้เบาหวานได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาโรคตาที่ห้องตรวจตา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สายตาเลือนราง( ระดับสายตา <20/70-10/200) และตาบอด (ระดับสายตา <10/200-มองไม่เห็นแสง) บันทึกประวัติโรคทางกาย ประวัติโรคเบาหวาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงของนัยน์ตาและจอตา วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดตาบอด
ผลการศึกษา: มีผู้เข้าเกณฑ์ศึกษาจำนวน 372 ราย จำนวน 615 ตา แบ่งตาที่มีระดับสายตาเลือนราง 372 ตา และตาบอด 243 ตา สาเหตุที่ตรวจพบที่เกี่ยวข้องกับตาบอดได้แก่ เบาหวานจอตาทั้งระดับไม่มีหลอดเลือดงอกและมีหลอดเลือดงอก, จุดรับภาพชัดจอตาบวม, จอประสาทตาลอกหลุดชนิดพังผืดดึงรั้งและมีรูฉีกขาด, เลือดออกในน้ำวุ้นตา และต้อหินจากเส้นเลือดงอกผิดปกติ เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ Multiple logistic regression พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับตาบอดได้แก่ จอประสาทตาลอกหลุดชนิดพังผืดดึงรั้ง (adjust OR=2.67, 95%CI: 1.84-3.87, p-value<0.001) จอประสาทตาลอกหลุดชนิดมีรูฉีกขาด (adjust OR=1.80, 95%CI: 1.05-3.08, p-value =0.033) เลือดออกในน้ำวุ้นตา (adjust OR=1.94, 95%CI: 1.30-2.88, p-value =0.001) เส้นประสาทตาฝ่อ (adjust OR = 4.53, 95%CI: 2.77-7.39, p-value<0.001) ต้อหินจากเส้นเลือดงอกผิดปกติ (adjust OR=2.60, 95%CI: 1.80-3.76, p-value<0.001) และแผลเป็นที่จุดรับภาพชัด (adjust OR=3.14, 95%CI: 1.64-6.02, p-value=0.001)
สรุป: การเกิดตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากการภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตาจากเบาหวานจอตา ดังนั้นหากรักษาตั้งแต่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน การคัดกรองและการติดตามการรักษาที่ต่อเนื่องจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยตาบอดจากเบาหวานได้
เอกสารอ้างอิง
Isipradit S, Sirimaharaj M, Charukamnoetkanok P, Thonginnetra O, Wongsawad W, Sathornsumetee B, et al. The first rapid assessment of avoidable blindness (RAAB) in Thailand. PLoS One, 2014;9(12):e114245.
Ting DS, Cheung GC, Wong TY. Diabetic retinopathy: global prevalence, major risk factors, screening practices and public health challenges: a review. Clin Exp Ophthalmol, 2016;44(4):260-77.
Zhang X, Saaddine JB, Chou CF, Cotch MF, Cheng YJ, Geiss LS, et al. Prevalence of diabetic retinopathy in the United States, 2005-2008. Jama, 2010;304(6):649-56.
Chetthakul T, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et al. Thailand diabetes registry project: prevalence of diabetic retinopathy and associated factors in type 2 diabetes mellitus. J Med Assoc Thai, 2006;89(Suppl 1):S27-36.
Song P, Yu J, Chan KY, Theodoratou E, Rudan I. Prevalence, risk factors and burden of diabetic retinopathy in China: a systematic review and meta-analysis. J Glob Health, 2018;8(1):010803.
Singalavanija A, Luangsawang K, Chotikavanich S, Tanterdtham J, Samsen P. Causes of visual impairment in Thai diabetic patients in the visual rehabilitation clinic. J Med Assoc Thai, 2012;95(Suppl 4):S24-9.
Penman A, Hancock H, Papavasileiou E, James M, Idowu O, Riche DM, et al. Risk Factors for Proliferative Diabetic Retinopathy in African Americans with Type 2 Diabetes. Ophthalmic Epidemiol, 2016;23(2):88-93.
Zhang G, Chen H, Chen W, Zhang M. Prevalence and risk factors for diabetic retinopathy in China: a multi-hospital-based cross-sectional study. Br J Ophthalmol, 2017;101(12):1591-5.
Jin G, Xiao W, Ding X, Xu X, An L, Congdon N, et al. Prevalence of and Risk Factors for Diabetic Retinopathy in a Rural Chinese Population: The Yangxi Eye Study. Invest Ophthalmol Vis Sci, 2018;59(12):5067-73.
Stewart MW, Browning DJ, Landers MB. Current management of diabetic tractional retinal detachments. Indian J Ophthalmol, 2018;66(12):1751-62.
Rodrigues GB, Abe RY, Zangalli C, Sodre SL, Donini FA, Costa DC, et al. Neovascular glaucoma: a review. International Journal of Retina and Vitreous, 2016;2(1):26.
2006 WHO. Prevention of Blindness from Diabetes Mellitus. 2005.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.