โรคสมาธิสั้นในเด็กอายุ 5-14 ปี โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรชนก หิรัญเขว้า Bamnetnarong hospital, Chaiyaphum

คำสำคัญ:

โรคสมาธิสั้น, ปัจจัย, เด็ก

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคสมาธิสั้นเป็นภาวะทางจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมใน 3 ด้าน คือ ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง, ซนมากกว่าปกติหรืออยู่ไม่นิ่งและขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่นที่เป็นมากกว่าพฤติกรรมตามปกติของเด็กในระดับพัฒนาการเดียวกันและทำให้เสียหน้าที่ในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือการเข้าสังคม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้ป่วย ผลการรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณยา Methylphrenidate ในเด็กสมาธิสั้นโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังและไปข้างหน้าเชิงพรรณนาในผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 2564 ช่วงอายุ 5-14 ปี จำนวน 219 คน เกณฑ์คัดเข้า คือ ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นสมาธิสั้นตามหลักเกณฑ์ของ DSM IV-TR เกณฑ์คัดออก คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดตามการรักษาได้จนถึงวันที่เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาจำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สัดส่วน และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นโดยใช้ Fisher’s Exact Test

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นผ่านเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 134 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.4 อัตราส่วนชายต่อหญิงเท่ากับ 2.6:1 อายุเฉลี่ย 8 ± 1.84ปี ร้อยละ 61.9 อาศัยอยู่กับบิดามารดา พบชนิดผสมผสานมากที่สุด ร้อยละ 82.8 ปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ที่พบร่วมบ่อยที่สุดคือ Oppositional defiant disorder ร้อยละ 11.9 ผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นทุกคนได้รับการรักษาด้วยยา Methylphenidate ปริมาณยาที่ได้รับเมื่ออาการคงที่ส่วนใหญ่คือ 20 มิลลิกรัมต่อวัน คิดเป็น ร้อยละ 64.9 ของผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นทั้งหมด ผลข้างเคียงจากยาที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะคลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คิดเป็น ร้อยละ 17.2 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้นพบว่าเพศชายมีปริมาณการใช้ยา Methylphrenidate มากกว่าเพศหญิง (p<0.05) และโรคสมาธิสั้นชนิดผสมผสานมีปริมาณการใช้ยา Methylphrenidate มากกว่าโรคสมาธิสั้นชนิดอื่น ๆ (p<0.05)  

สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 8 ปี, อาศัยอยู่กับบิดามารดา พบเป็นชนิดผสมผสานมากที่สุด ปัญหาทางจิตเวชที่พบร่วมกับโรคสมาธิสั้นบ่อยที่สุด คือ Oppositional defiant disorder ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศชาย และโรคสมาธิสั้นชนิดผสมผสาน มีปริมาณการใช้ยา Methylphrenidate มากกว่าเพศหญิง และโรคสมาธิสั้นชนิดอื่น ๆ

เอกสารอ้างอิง

Boon-yasidhi V. Attention deficit hyperactivity disorder: diagnosis and management. J Psychiatr Assoc Thailand, 2012;57(4):373-86.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical Manual of Mental disorders, 4thedition Text rev. (DSM-IV-TR). Washington, DC:American Psychiatric Association, 2000.

ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, ธันวรุจน์ บูรณะสุขสกุล, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ และทรงภูมิ เบญญากร. คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2557;59(2):97-110.

Cunningham NR, Jensen P. Attention-defit/hyperactivity disorder. In: Kliegman RM, Stanton BF, Shor NF, St. Geme III JW, Behrman RE, editors. Nelson textbook of pediatrics. 19th ed. Philadelphia: Elsevier Suanders, 2011:108-12.

จิรนันท์ วีรกุล. โรคสมาธิสั้นและภาวะอยู่ไม่นิ่งในเด็ก. พุทธชินราชเวชสาร, 2557;31(1):65-75.

Pliszka SR. Pattern of psychiatric comorbidity with attention deficit/heperactivity disorder. Child Adolesc Psychiate Clin N AM, 2009;9:520-40.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ และพัชรินทร์ อรุณเรือง. ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 2556;21(2):66-75.

พิสมัย พงศาธิรัตน์, พรทิพย์ วชิรดิลก. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้นในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 2556;27(1):108-20.

กันยา พาณิชย์ศิริ, เบญจพร ตันตสูติ. การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2559;61(3):191-204.

วรานุช ปิติพัฒน์, บรรณาธิการ. ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

Wacharasindhu A, Panyayong B. Psychiatric Disorder in Thai School-Aged Children: I Prevelence. J Med Assoc Thai, 2002;85(suppl1):S125-36.

Trangkasombat U. Clinical Characteristics of ADHD in Thai Children. J Med Assoc Thai, 2008;91(12):1894-9.

Boonsub S, Kritchaporn C, Nadcha S, Soraya C, Chawengsak K, Wetawit S, et al. Prevalence and Associated Factors of Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) in a Rural Community, Central Thailand: A Mixed Methods Study. Global Journal of Health Science, 2018;10(3):60-9.

MTA Cooperation Group. 14 month randomized clinical trial of treatment strategies for children with attention deficit hyperactivity disorder. Arch Gen Psychiatry, 1999;56:1073-86.

Taylor E, Dopfner M, Sergeant J, Asherson P, Banaschewski T, Buitelaar J, et al. European clinical guidelines for hyperkinetic disorder-first update. Eur Child Adolesc Psychiatry, 2004;13 (Suppl1):7-30.

Greenhill LL, Pliszka S, Dulcan MK, Bernet W, Arnold V, Beitchman J. Practice parameter for the use of stimulant medications in the treatment of children, adolescent, and adults. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry, 2002;41(2 Suppl):26S-49S.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29 — อัปเดตเมื่อ 2021-12-30

เวอร์ชัน