การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, การประเมินภาวะสุขภาพของ FANCAS, การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวนบทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถ้าหลอดเลือดแดงใหญ่แตก ดังนั้นหลังได้รับการวินิจฉัยจึงต้องให้การดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR) จำนวน 2 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาล และกรอบแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของ FANCAS
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR) จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี ระหว่าง เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยส่งเสริมการเกิดหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองที่เหมือนกัน คือ เป็นเพศชาย สูงอายุ มีประวัติการสูบบุหรี่ มีภาวะความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง การวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย ตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดงบริเวณช่องท้อง (CTA) สำหรับอาการและอาการแสดงที่มาคล้ายกัน คือ ปวดท้อง พบก้อนที่บริเวณหน้าท้องเต้นตามชีพจร และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล คือ 1) เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องปริแตกก่อนผ่าตัด 2) ภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ 3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดเทียมแตกหรือรั่วซึม (Endoleaks) หลังผ่าตัด 4) ขาดประสิทธิภาพในการทำให้ทางเดินหายใจโล่ง 5) ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากปวด 6) เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหาร และพลังงานไม่เพียงพอ 7) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด 8) การดูแลตนเองบกพร่องเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน 9) ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เนื่องจากอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยวิกฤต ส่วนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ต่างกัน คือกรณีศึกษารายที่ 1 มีการติดเชื้อในกระแสเลือด และมีภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากมีปัสสาวะออกมากหลังการผ่าตัด ส่วนกรณีศึกษารายที่ 2 มีภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อยตั้งแต่ก่อนมาโรงพยาบาล
สรุปกรณีศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ มีโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อสภาวะของโรคและการรักษาพยาบาล ก่อนการผ่าตัดจึงต้องมีการควบคุมความดันโลหิตและอาการปวด เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดแดงที่โป่งพอง (Aneurysm) แตก ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการ และลดการเสียชีวิต
เอกสารอ้างอิง
Dias-Neto M, Norton L, Sousa-Nunes F, Silva JR, Rocha-Neves J, Teixeira JF, et al. Impact of gradual adoption of EVAR in elective repair of abdominal aortic aneurysm: a retrospective cohort study from 2009 to 2015. Annals of Vascular Surgery, 2021;70:411-24.
Holscher CM, Weaver ML, Black III JH, Abularrage CJ, Lum YW, Reifsnyder T, et al. Regional market competition is associated with aneurysm diameter at the time of EVAR. Annals of Vascular Surgery, 2021;70:190-6.
มาลี เบญจพลากร. การพยาบาลระงับความรู้สึกผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน: กรณีศึกษา. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 2561;15(3):85-94.
โกเมศร์ ทองขาว, บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา. Current management of abdominal aortic aneurysm. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก http://medinfo2.psu.ac.th/surgery/ Collective%20review/Current%20management%20of%20abdominal%20aortic%20aneurysm.pdf [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2565].
ไพบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ และพงศ์ธร ตันติวรารัตน์. การรักษาหลอดเลือดโป่งพองโดยการสวนหลอดเลือดในปัจจุบัน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 2562;11(1):243-52.
ศุภโชค มาศปกรณ์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองระหว่างวิธีสวนหลอดเลือดกับวิธีผ่าตัดเปิดช่องท้องของโรงพยาบาลเชียงนายประชานุเคราะห์ในช่วงริเริ่ม. เชียงรายเวชสาร, 2563;12(2):16-31.
โรงพยาบาลชลบุรี. สถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี ปี 2562. ชลบุรี: หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี, 2562.
โรงพยาบาลชลบุรี. สถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี ปี 2563. ชลบุรี: หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี, 2563.
โรงพยาบาลชลบุรี. สถิติผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี ปี 2564. ชลบุรี: หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี, 2564.
Altobelli E, Rapacchietta L, Valerio FP, Fagnano R. Risk factors for abdominal aortic aneurysm in population-based studies: A systematic review and meta-analysis. Int J Environ Res Public Health, 2018;15(12):2805.
Alyami ZS, Alotaibi MM, Alghamd MS, Alsomali MM. Abdominal aortic aneurysm: a comprehensive review. Al-Azhar Medical Journal, 2016;45(3):559-70.
Shaw PM, Loree J, Gibbons RC. Abdominal aortic aneurysm. StatPearls Publishing. [Internet]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470237/ [cited 2022 January 24].
Carey RM, Whelton PK. Prevention, detection, evaluation, and management of high blood pressure in adults: synopsis of the 2017 American College of Cardiology/ American Heart Association hypertension guideline. Ann Intern Med, 2018;168(5):351-8.
Calero A, Illig K. Overview of aortic aneurysm management in the endovascular era. Seminars in Vascular Surgery, 2016;29(1-2):3-17.
Parkinson F, Ferguson S, Lewis P, Williams IM, Christopher P. Rupture rates of untreated large abdominal aortic aneurysms in patients unfit for elective repair. Journal of Vascular Surgery, 2015;61(6):1606-12.
Dick F, Erdoes G, Opfermann P, Eberle B, Schmidli J, von Allmen RS. Delayed volume resuscitation during initial management of ruptured abdominal aortic aneurysm. Journal of Vascular Surgery, 2013;57(4):943-50.
Aronow WS. Prevention/detection/management of abdominal aortic aneurysm. AME Medical Journal, 2016;1(3):1-4.
Aronow WS. Ten key points from the American College of Cardiology Foundation/ American Heart Association 2011 Expert consensus document on hypertension in the elderly. American Journal of Therapeutics, 2014;21(5):436-7.
Kobeissi E, Hibino M, Pan H, Aune D. Blood pressure, hypertension and the risk of abdominal aortic aneurysms: a systematic review and meta-analysis of cohort studies. Eur J Epidemiol, 2019;34(6):547-55.
Kuivaniemi H, Ryer EJ, Elmore JR, Hinterseher I, Smelser DT, Tromp G. Update on abdominal aortic aneurysm research: from clinical to genetic studies. Scientifica (Cairo), 2014;2014:564734.
Kayssi A, Smith AD, Roche-Nagle G, Nguyen LL. Health related quality of life outcomes after open versus endovascular abdominal aortic aneurysm repair. Journal of Vascular Surgery, 2015;62(2):491-8.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.