การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะอ้วน และภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ นาจำเริญ หน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง, ภาวะอ้วน, ภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะอ้วนและภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ กรณีศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 12 – 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสังเกต การสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์และญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับทฤษฎี ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง ภาวะอ้วน และภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ อาการ อาการแสดง การรักษา และปัญหาทางการพยาบาล โดยใช้หลักการของกระบวนการพยาบาล ได้แก่ การประเมิน การวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาลมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

ผลการศึกษา : หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาป้องกันการชักด้วยแมกนีเซียมซัลเฟต และได้รับยาลดความดันโลหิต เมื่อสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ สูติแพทย์พิจารณาวางแผนการคลอดทางช่องคลอด โดยให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก พบว่ามีความก้าวหน้าของการคลอดดี สามารถคลอดปกติทางช่องคลอดได้

ดังนั้น พยาบาลผู้ดูแลเฝ้าคลอดต้องใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญ ด้วยการประเมินที่รวดเร็ว นำไปสู่การวินิจฉัย การวางแผนการพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ มีการประเมินซ้ำ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้คลอดและญาติ ให้ข้อมูลในเรื่องภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะอ้วนและภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ความก้าวหน้าของการคลอด แก่ผู้คลอดและญาติเป็นระยะ ทำให้ผู้คลอดและญาติเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี จึงทำให้ผ่านภาวะวิกฤติและคลอดปกติได้อย่างปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายกลับบ้านพร้อมบุตรได้ภายใน 3 วันของการคลอด

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Maternal mortality. [Online]. Available from http://www.who.int/news-room /factsheets/detail/maternal-mortality [Retrieved 11 October, 2020].

Strategy and Planning Division. Public Health Statistics A.D.2018. Public Health Statistics A.D. 2018. Retrieved from http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ statistic%2061.pdf.

Cunningham FG, et al. Williams obstetrics. (24th ed.). New York: McGraw Hill, 2014.

สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562.

Charles A, Victor P, Jonathan K, Ishaya P. Eclampsia and Pregnancy Outcome at Jos University Teaching Hospital, Jos, Plateau State, Nigeria. Journal of Gynecology and Obstetrics, 2017;5(4):46-9.

Senthiri P, Srisong S, Prompakai R, Sroisuwan P, Koponrat K. Development of the Care Model for Women with Hypertensive Disorder in Pregnancy. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 2017;32(2):117-29.

สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์. ภาวะอ้วนในสตรีตั้งครรภ์: ผลกระทบต่อสุขภาพและการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 2561;38(1):120-8.

จรรยา จิระประดิษฐา. การไม่แนะนำให้ดูดขี้เทาในหลอดลมโดยการใส่ท่อหลอดลมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำขณะคลอดและไม่ตื่นตัวเมื่อแรกเกิดเป็นกิจวัตร: หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 2559;55(4):226-39.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ ประจำปี พ.ศ. 2562-2564. ชัยภูมิ: เวชระเบียนห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2564.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การดูแลความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2022/05/OB-63-021ฉบับสรุปคำ แนะนำ.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17