ผลการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน ในโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ยาเมทฟอร์มิน, ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติก, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
บทนำ: อุบัติการณ์ของภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน (Metformin Associated Lactic Acidosis; MALA) เท่ากับ 4.60 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยแต่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ปีงบประมาณ 2563โรงพยาบาลชัยภูมิ จึงได้นำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ MALA มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชัยภูมิ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ MALA ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีดำเนินการวิจัย: วิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง จากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2562-2565 จำนวน 19,172 ราย ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จากการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ ค่าการทำงานของไต การรักษา การเกิดภาวะ MALA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์อัตราอุบัติการณ์ของภาวะ MALA
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาในปีงบประมาณ 2562-2565 ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.94, 63.33, 63.15 และ 62.57 ภาวะโรคไตเรื้อรังระยะ 3a ร้อยละ 91.52, 93.12, 94.46 และ 95.36 และขนาดยาเมทฟอร์มินที่ผู้ป่วยได้รับต่อวันมากที่สุดในกลุ่มที่ได้รับยาเท่ากับ 500-1,000 มิลลิกรัม ร้อยละ 56.03, 57.47, 55.63 และ 59.71 อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะ MALA ก่อนใช้แนวปฏิบัติปีงบประมาณ 2562 เท่ากับ 225.69 ต่อประชากร 100,000 รายต่อปี หลังจากการใช้แนวปฏิบัติระหว่างปีงบประมาณ 2563-2565 พบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะ MALA เท่ากับ 209.91, 156.25 และ108.44 ต่อประชากร 100,000 รายต่อปี
สรุป : แนวทางการปฏิบัติที่นำมาใช้สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะ MALA ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลชัยภูมิได้
เอกสารอ้างอิง
Riddle MC, Stamdards of medical care in diabetes. Diabetes Care, 2022;45(1):S1-264
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย, 2560.
ชัยรัตน์ ฉายากุล, พิสนธิ์ จงตระกูล, วินัย วนานุกูล, พาขวัญ ปุณณุปูรต, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, กิติยศ ยศสมบัติ, และคณะ. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, 2558.
DeFronzo R, Fleming GA, Chen K, Bicsak TA. Metformin-associated lactic acidosis: Current perspectives on causes and risk. Metabolism, 2016;65(2):20-9.
Lalau JD. Lactic acidosis induced by metformin incidence, management and prevention. Drug Saf, 2010;33(9):727-40.
Salpeter S, Greyber E, Pasternak G, Salpeter E. Risk of fatal and nonfatal lactic acidosis with metformin use in type 2 diabetes mellitus. Cochrane Database Syst Rev, 2010;4:CD002967.
วิกาวี รัศมีธรรม. การศึกษาการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแล็กติกคั่งจากยาเมทฟอร์มินโดยใช้ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562.
DeFronzo R, Fleming GA, Chen K, Bicsak TA. Metformin-associated lactic acidosis: Current perspectives on causes and risk. Metabolism, 2016;65(2):20-9.
Hsu CN, Chang CH, Lin JH and Tai YK. Outcome of Metformin-associated Lactic Acidosis in Type 2 Diabetic Patients. Journal of Internal Medicine, 2012:23:360-6.
Wills BK, Bryant SM, Buckley P, Seo B. Can acute overdose of metformin lead to lactis acidosis?. Am J Emerg Med, 2010;28(8):857-61.
Jakmatakul R. Review article: Metformin-associated lactic acidosis. J Prev Med AssocThai, 2018;8(1):147-51.
Glucophage (metformin hydrochloride) and Glucophage XR (extended-release) prescribing information. Princeton, NJ: Bristol-Myers Squibb Co, 2018.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.