ผลของการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่าไอเอ็นอาร์อยู่นอกช่วงการรักษา ในพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • วีนัส กล้าประจัน โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การใช้ยา, การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน, คลินิกวาร์ฟาริน, การเยี่ยมบ้าน

บทคัดย่อ

บทนำ: วาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด เป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง ดัชนีการรักษาแคบ หากมีการใช้ยาไม่ถูกต้องหรือปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมระหว่างใช้ยาอาจส่งผลต่อการรักษาและเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ยา ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน และศึกษาผลการเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกวาร์ฟาริน ของโรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวาร์ฟารินที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์การเยี่ยมบ้าน INHOMESSS และแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟาริน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีข้อบ่งใช้ยาวาร์ฟารินเนื่องจากเป็นโรค Atrial fibrillation (ร้อยละ 76.7) รวมถึงมีภาวะโรคร่วม (ร้อยละ 73.3) และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ (ร้อยละ 90.0) ปัญหาจากการใช้ยาที่พบคือ การไม่ได้รับยาตามแพทย์สั่ง (ร้อยละ 60.0) และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาเนื่องจากรับประทานผักใบเขียวเพิ่มขึ้นรวมถึงยาสตรีสมุนไพร (ร้อยละ 36.7) นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างไม่มีผู้ดูแลในการรับประทานยา (ร้อยละ 76.7) ส่งผลให้รับประทานยาไม่ถูกต้อง (ร้อยละ 56.7) จากการทดสอบความรู้ พบว่า หัวข้อลักษณะอาการลิ่มเลือดอุดตัน ข้อห้ามหรือการปฏิบัติในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และการปฏิบัติตัวกรณีซื้อยารับประทานเอง ยังอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 0.0 ถึง 30.0) ภายหลังการเยี่ยมบ้าน สัดส่วนคะแนนความรู้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในทุกหัวข้อ (ร้อยละ 66.7 ถึง 100.0) และค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา ร้อยละ 86.7

สรุปและข้อเสนอแนะ:  การเยี่ยมบ้านส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติตัว ทำให้ค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา รวมถึงบุคลากรสาธารณสุขได้รับทราบปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม   

เอกสารอ้างอิง

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน.กรุงเทพฯ : สมาคม. 2554.

ภาณุโชติ ทองยัง, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2560.

Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug related problem: their structure and function. DICP. 1990;24(11):1093-7.

รจเรศ หาญรินทร์. การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2552;1(1):84-96.

พรรณี ศรีบุญซื่อ, พัชรี คาร์มิคาเอล, เทียมจันทร์ สุนทรารชุน และคณะ, บรรณาธิการ. คู่มือการใช้ยา Warfarin สำหรับเภสัชกร ประสบการณ์ของสถาบันโรคทรวงอก. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล. ปัจจัยของผู้ป่วยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา งานบริบาลทางเภสัชกรรม โรงพยาบาลบางปลาม้า สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(1):107-19.

สุทธิดา แก้วมุ่งคุณ, นิตย์สุภา วัฒนชัย, วิจิตรา ทัศนียกุล. ปัจจัยทางคลินิกและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในขนาดคงที่. The National and International Graduate Research Conference. 2016; 15 มกราคม 2559; ขอนแก่น. ประเทศไทย. 2559.

ศุภปริญญ์ แสงสุวรรณ, สัจจาภรณ์ ทองใบ, ปิยะภรณ์ กางกั้น, ศศิภา อภิสกุลโรจน์, กฤษณี สระมุณี, วิระพล ภิมาลย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับ INR และประสิทธิผลของการให้กล่องยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมระดับ INR ในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;11(1):50-60.

สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคนา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษาโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Walailak Procedia. 2562;2019(4): HS144.

ปฐวี โลหะรัตนากร, พลอยไพลิน ฤทธิบุญ, ยุวธิดา หงส์ริญญา, มณีพิมาย ไชยชุน, สุเทพ ทักษิณาเจนกิจ, วีรวรรณ อุชายภิชาติ. ความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟารินและการควบคุมค่า International normalized ratio เป้าหมาย ของผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(3):257-65.

ธันย์ชนก ไทยชนะ, อรินทยา พรหมินธิกุล, ชิดชนก เรือนก้อน, กนกพร นิวัฒนนันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงในผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562;12(4):954-66.

นาตยา หวังนิรัติศัย, สกนธ์ สุภากุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินขิงคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560;10(1):120-8.

ปริญา ถมอุดทา, ชมพูนุท พัฒนจักร, อดิศักดิ์ ถมอุดทา, สุกัญญา คำผา, ศุภิญญา ภูมิวณิชกิจ, ปภัสรินทร์ จีรอำพรวัฒน, และคณะ. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนโดยการออกเยี่ยมบ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(3):229-35.

บุญรักษ์ ฉัตรรัตนกุลชัย. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2562;16(3):87-95.

วรรณวิมล เหลือล้น. ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินโรงพยาบาลน้ำหนาว. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2563;26(2):1-13.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18