การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดและมีภาวะความดันโลหิตสูง ในแผนกผู้ป่วยนอก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ ค่ายสูงเนิน งานห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งเต้านม, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการผ่าตัดและมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นการดูแลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดด้วยความรู้และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและเผชิญความจริงได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดและมีภาวะความดันโลหิตสูงในแผนกผู้ป่วยนอก

วิธีการศึกษา: กรณีศึกษา 1 ราย เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 64 ปี มาด้วยอาการคลำได้ก้อนที่เต้านมซ้ายไม่มีอาการเจ็บ เป็นมา 3 เดือน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมข้างซ้าย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 13 - 19 กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต เวชระเบียนผู้ป่วย ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยตามแนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน รวบรวมข้อมูล วางแผนให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล ประเมินผลและวางแผนจำหน่ายตามหลัก D-METHOD

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษาเป็นมะเร็งเต้านมข้างซ้ายและมีภาวะความดันโลหิตสูง ได้รับการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งเต้า ต่อมน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก ผู้ป่วยนอนรักษาโรงพยาบาล 6 วัน ปัญหาทางการพยาบาล ดังนี้ 1) วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เรื่องโรค การผ่าตัด และการปฏิบัติตัว 2) วิตกกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียภาพลักษณ์หลังผ่าตัดเต้านม และ 3) ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนกลับบ้าน เมื่อผู้ป่วยมาตรวจตามนัดไม่พบภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกาย และด้านจิตใจพบว่าผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้

สรุปกรณีศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษายังมีความวิตกกังวลซึ่งเชื่อมโยงกับภาพลักษณ์หลังการผ่าตัด สภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนเรื่องการปฏิบัติตัว การให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านสภาพจิตใจจากพยาบาลผู้ดูแลและญาติเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์. กรมการแพทย์เผยภัยของมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/03/24791

กรมอนามัย. สถิติหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านม ปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. สถิติโรคมะเร็ง ประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ch9airport.com/สถิติมะเร็ง-ประเทศไทย/

Khoramdad M, Solaymani-Dodaran M, Kabir A, Ghahremanzadeh N, Hashemi EO, Fahimfar N, et al. Breast cancer risk factors in Iranian women: a systematic review and meta-analysis of matched case–control studies. Eur J Med Res 2022;27(1):311.

Han H, Guo W, Shi W, Yu Y, Zhang Y, Ye X, He J. Hypertension and breast cancer risk: a systematic review and meta-analysis. Sci Rep 2017;7(1):44877.

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการรุณย์. รู้ลึกวิธีการรักษามะเร็งเต้านม. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/breast-cancer-treatment

Puengtananukij C, Kongwong J. Nursing Care of Breast Cancer Patients Undergoing Surgery at Outpatient Department. Nursing Journal 2023;50(1):396-408.

Thakur M, Sharma R, Mishra AK, Singh K, Kar SK. Psychological distress and body image disturbances after modified radical mastectomy among breast cancer survivors: A cross-sectional study from a tertiary care center in North India. Lancet Reg Health Southeast Asia 2022;7:100077.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. Cancer in Thailand Vol. X, 2016-2018. [อินเตอร์เน็ต]. 2021. [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติการผ่าตัดมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลชัยภูมิ ประจำปี 2563-2565. ชัยภูมิ : เวชระเบียนห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.

Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. St. Louis: Mosby. 1994.

Berger E, Eske J. Breast cancer: How fast does it spread?. [Internet]. 2023. [cited 2023 Sep 30]. Available from : https://www.medicalnewstoday.com/articles/324314

Felson S. How fast does breast cancer grow?. [Internet]. 2022. [cited 2023 Sep 30]. Available from : https://www.webmd.com/breast-cancer/breast-cancer-how-fast-grows

Gómez-Acebo I, Dierssen-Sotos T, Palazuelos C, Perez-Gomez B, Lope V, Tusquets I, et al. The use of antihypertensive medication and the risk of breast cancer in a case-control study in a Spanish population: the MCC-Spain study. PLoS One 2016;11(8):e0159672.

Sipahi I. Risk of cancer with angiotensin-receptor blockers increases with increasing cumulative exposure: meta-regression analysis of randomized trials. PLoS One 2022;17(3):e0263461.

Chiriac VF, Baban A, Dumitrascu DL. Psychological stress and breast cancer incidence: a systematic review. Clujul Med 2018;91(1):18-26.

Qiu H, Xu WH, Kong J, Ding XJ, Chen DF. Effect of breast-conserving surgery and modified radical mastectomy on operation index, symptom checklist-90 score and prognosis in patients with early breast cancer. Medicine (Baltimore) 2020;99(11):e19279.

สุวลักษณ์ วงศ์จรรโลงศิล. ผ่าตัดมะเร็งเต้านมควรดูแลตัวเองแบบไหน. [อินเตอร์เน็ต]. 2018. [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ผ่าตัดมะเร็งเต้านม

Phoosuwan N, Lundberg PC. Psychological distress and health-related quality of life among women with breast cancer: a descriptive cross-sectional study. Support Care Cancer 2022;30(4):3177-3186.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13