ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ระดับน้ำตาลสะสม, ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาและติดตามอาการในโรงพยาบาลหนองบัวแดง ศึกษาข้อมูลผ่านเวชระเบียนของผู้ป่วย ระหว่าง เดือน มกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในกลุ่มตัวอย่าง 3,800 ราย วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation)
ผลวิจัย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 70.6) มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี (ร้อยละ 40.1) และพบว่ามีภาวะเสี่ยงจากภาวะอ้วนระดับ 2 (BMI ≥ 30) ถึง ร้อยละ 84.5 นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาวะความดันโลหิตขณะบีบตัว มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง (SBP 120 - 139) ร้อยละ 56.5 และระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FBS) >125 mg/dL ถึง ร้อยละ 65.0 รวมถึง ระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ≥ 6.5 mg% ร้อยละ 85.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าอาจมีระดับน้ำตาลสะสม HbA1c มากกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า โดยมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อย (r = -18.9%) ขณะที่ ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FBS) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1c (r = 40.2%) จากการเจาะเลือดในผู้ป่วยคนเดียวกัน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษามีแนวโน้มที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต จากข้อมูลบ่งชี้ คือ ค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตขณะบีบตัว รวมถึง ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร และน้ำตาลสะสมในเลือด การวิจัยต่อยอดในประเด็น การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงลึกในกลุ่มเสี่ยง ผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์ในการดูแลผู้ป่วยรายกรณี อาจเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 9thed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation, 2019.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี, 2566.
สารัช สุนทรโยธิน, และ ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร, [บรรณาธิการ]. ตำราโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ :ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
Alqahtani N, Ghafor Khan WA, Alhumaidi MH, Abdul Rahiem Ahmed YA. Use of Glycated Hemoglobin in theDiagnosis of Diabetes Mellitus and Pre-diabetes and Role of Fasting Plasma Glucose, Oral Glucose Tolerance Test. Int J Prev Med 2013; 4: 1025-9.
American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes-2018 Abridged for Primary Care Providers. Clin Diabetes 2018; 36: 14 - 37.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนในระบบบริการ โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2566. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2566.
โรงพยาบาลหนองบัวแดง. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนในระบบบริการ โรงพยาบาลหนองบัวแดง ปี พ.ศ. 2566. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลหนองบัวแดง. 2566.
เขมารดี มาสิงบุญ, สายฝน ม่วงคุ้ม, สุวรรณี มหากายนันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27: 214 - 27.
อรุณี สมพันธ์, แสงทอง ธีระทองคํา, นพวรรณ เปียซื่อ, สมนึก สกุลหงส์โสภณ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2558; 21: 96 - 109.
จตุภูมิ นีละศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39: 714 - 28.
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 256 - 68.
พัชรียา อัมพุธ, สิริมา วงษ์พล, สุดารัตน์ สังฆะมณี. ผลทันทีของการก้าวขึ้นลงกะลามะพร้าวต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 3: 372 - 6.
Khan HA, Sobki SH, Khan SA. Association between glycaemic control and serum lipids profile in type 2 diabetic patients: HbA 1c predicts dyslipidaemia. Clin Exp Med 2007; 7: 24 - 9.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.