การวิเคราะห์ต้นทุนและอัตราการคืนทุนของบริการรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2566
คำสำคัญ:
ต้นทุนการบริการรังสีวิทยา, อัตราการคืนทุนบทคัดย่อ
บทนำ: โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้พัฒนาการให้บริการรังสีวิทยาโดยนำเทคโนโลยีระบบจัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพเอกซเรย์ระบบดิจิทัลมาใช้ เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนบริการทางรังสีวิทยา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วยบริการ และอัตราการคืนทุนบริการรังสีวิทยา
วิธีดำเนินการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา จากข้อมูลต้นทุนและรายได้ของกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 โดยแบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และจำนวนผลงาน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา
ผลการศึกษา: ต้นทุนรวม เท่ากับ 21,066,409.63 บาท แบ่งเป็นสัดส่วนต้นทุน ค่าแรง: ค่าลงทุน: ค่าวัสดุ เท่ากับ ร้อยละ 69.5: 21.0: 9.5 เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบงานเอกซเรย์ทั่วไปใช้ต้นทุนรวมสูงสุด 8,140,287.46 บาท น้อยสุด คืองานควบคุมคุณภาพ จัดเก็บและจัดส่งภาพทางการแพทย์ 709,615.14 บาท และเมื่อพิจารณาต้นทุนต่อบริการในแต่ละกิจกรรม พบว่า งานเอกซเรย์ทั่วไป (Bone survey, Elbow, Forearm, Hand, Humerus, Wrist) ใช้ต้นทุนต่อบริการน้อยสุด คือ 44.63 บาท ขณะที่งานเอกซเรย์พิเศษ มี 2 กิจกรรมที่ใช้ต้นทุนต่อบริการเกินกว่าอัตราเรียกเก็บ คือ Cystogramและ Voiding Cysto-Urethrogram
อัตราการคืนทุนในงานเอกซเรย์ทั่วไปสูงสุด คือ 3.62 เท่า ต่ำสุด คือ งานเอกซเรย์พิเศษ 1.20 เท่า เมื่อพิจารณาเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุ พบว่าอัตราการคืนทุนต้นทุนค่าวัสดุสูงสุด คือ 76.09 ในงานเอกซเรย์เคลื่อนที่ ตามด้วย 54.35, 14.14, 4.45 เท่า ในงานเอกซเรย์ทั่วไป, งานตรวจด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง, งานเอกซเรย์พิเศษ ตามลำดับ
สรุป: ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าแรง และงานเอกซเรย์ทั่วไปเป็นกิจกรรมที่ใช้บ่อยสุด จึงมีต้นทุนรวมสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่างานเอกซเรย์พิเศษมีกิจกรรมที่ใช้ต้นทุนบริการสูงกว่าอัตราเรียกเก็บ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานรังสีวิทยาในภาพรวม มีอัตราคืนทุนที่ก่อให้เกิดผลกำไรในเกือบทุกกิจกรรม
เอกสารอ้างอิง
Misono AS, Oklu R, Prabhakar AM. Time-driven activity-based costing trumps traditional cost accounting for radiologists. AJR Am J Roentgenol 2015;204(2):W217.
Forman HP, Yin D. Cost Analysis and the Practicing Radiologist/Manager: An Introduction to Managerial Accounting. AJR Am J Roentgenol 1996;166(6):1249-53.
Jakovlievic M, Rankovic A, Rancic N, Jovanovic M, Ivanovic M, Gajovic O, et al. Radiology Services Costs and Utilization Patterns Estimates in Southeastern Europe-A Retrospective Analysis from Serbia. Value Health Reg Issues 2013;2(2):218-25.
Laaperi AL. Cost accounting of radiological examinations: cost analysis of radiological examinations of intermediate referral hospitals and general practice. Acta Radiol Suppl 1996:407:1-54.
Pantjaningtyas M, Rochmah TNR. Setijanto RD. Cost containment analysis as a cost recovery rate improvement effort for surabaya islamic hospital radiology unit. Administrasi dan Kebijakan Kesehatan 2005;3(2):90-6.
Singer ME, Applegate KE. Cost-effectiveness analysis in radiology. Radiology 2001;219(3):611-20.
มลฤดี บำรุงชู. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโรงพยาบาลบันนังสตาจังหวัดยะลา[ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตวิชาเอกการบัญชี]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.
วิน เตชะเคหะกิจ, นภชา สิงห์รีวธรรม, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน. ต้นทุนบริการและผลกระทบทางงบประมาณของโปรแกรมบังคับของภาครัฐในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย. นนทบุรี : กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2561.
เสงี่ยม ทรงวัย. วิเคราะห์ต้นทุนหน่วยบริการทุกหน่วยงานโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร 2560;9(1):133-46.
วลัยพร พัชรนฤมล, กัญจนา ติษยาธิคม, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. คู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544.
เตือน สายบัวทอง. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554;18(1):17-25.
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, วรรณี พิริยะจิตรา, วรัญญา โพธินฤมิตร. ต้นทุนต่อหน่วยบริการโดยวิธีบัญชีต้นทุนของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 9 แห่ง ปี 2539-40. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2541.
นิมิต ยุวนิมิ. การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการของกลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์ 2547;19(2):71-81.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราค่าบริการสาธารสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา (ว422). [ออนไลน์]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8310
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. ปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุข เพื่อใช้สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา ด้านค่าบริการรังสีรักษา (ว146). [ออนไลน์]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/9202
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพรเทพรัตน์. ระบบ PACS. [ออนไลน์]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/sdmc/th/technology/PAC-th
บริษัทโฟลว์แอคเค้าท์ จำกัด. ต้นทุนกับค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไรชวนอ่านงบกำไรขาดทุนเพื่อคุมค่าใช้จ่ายกิจการ.[ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ10 มิถุนายน2567]. เข้าถึงได้จาก https://flowaccount.com/blog/cost-of-good-sold-vs-expense/
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.