การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สมคิด สันวิจิตร โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • วิมลรัตน์ บริสุทธิ์ โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • นารีรัตน์ ผานาค โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • วาสนา ละครศรี โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • วาสนา นิลโอโล โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • เพ็ญศรี ประสมเพชร โรงพยาบาลบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
  • ศศิรินทร์ กระสินธุ์หอม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • รัชนีพรรณ โสดาวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, การทบทวนวรรณกรรมแบบเป็นระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ และเพื่อพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักคือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 10 คน ผู้ให้ข้อมูลรองคือสามีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 10 คน ในการมาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลบ้านแท่น เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559 ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะแรกมีการรวมกลุ่มวัยรุ่นหญิง มีสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม มีการแต่งตัวที่เป็นจุดเด่น ระยะที่สอง มีเพื่อนชายเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม เกิดการแยกเป็นกลุ่มย่อย บางคนพูดน้อยลง มีการออกเที่ยวตอนกลางคืน เริ่มพูดคุยถึงเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ สอบถามหาแหล่งขายยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย และจากการนำใช้แบบประเมินพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 3 ราย พบว่า ข้อที่พบความถี่มากตามลำดับ คือ การแต่งตัวให้เป็นจุดเด่น การออกเที่ยวตอนกลางคืน หาแหล่งขายยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และสุดท้ายการหาความรู้เรื่องการตั้งครรภ์จากอินเตอร์เน็ต จากข้อมูลนำสู่การพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แบบประเมิน เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 15 ข้อ ทดลองใช้ในกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.85          

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประสบการณ์ชีวิตก่อนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะต้องมีกลุ่มเพื่อนหรือมีเพื่อนสนิท มีสัญลักษณ์ของกลุ่ม การแต่งตัวที่เป็นจุดเด่น มีเพื่อนชาย แยกตัวออกจากกลุ่ม ออกเที่ยวตอนกลางคืน หาแหล่งขายยาคุมกำเนิด หาความรู้ในการตั้งครรภ์  จากข้อค้นพบนำสู่การพัฒนาเป็นแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจำนวน 15 ข้อ เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง และป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพื้นที่ ทดลองใช้แบบประเมินในกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.85          

ข้อจำกัดจากการศึกษาเป็นข้อมูลเฉพาะบริบทพื้นที่เท่านั้น ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาต่อในด้านการประเมินผลในการนำใช้แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เอกสารอ้างอิง

WHO. (2012). “Adolescent health.” [online]. Available from: URL: http://www.who.int/ topics/adolescent health/en/. [cite 2014 March 30]

Factsheet งานอนามัยแม่และเด็ก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://cpho.moph.go.th/.[สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556]

อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี. (2559). ตัวชี้วัดที่สำคัญ. เอกสารอัดสำเนา. ข้อมูล KPI โรงพยาบาลบ้านแท่น. มปท.

ศรุตยา รองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, และ สมประสงค์ ศิริบริรักษ์. (2555). การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการ การสนับสนุนในการรักษา พยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช, 5(1):14-28.

Wood & Haber. (2002). Nursing Research: Methods, Critical Appraisal, and Utilization. Michigan: Mosby.

Guba E.G, and Lincoin Y.S. (1994). Competing Paradigm in Qualitative Research. Lincoin. In N.K. Denzin and Y.S. Lincoin (Eds.), Handbook of Qualitative Research (pp. 105-117). Thousand Oaks, CA: Sage.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัจจา ทาโต. (2550). การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอันควรของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2):19-30.

ไพจิต ภูแช่มโชติ. (2555). การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายฝน เอกวรางกูร. (2556). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเยาวชน. วารสารเกื้อการุณย์, 20(2):16-26.

ดลฤดี เพชรขว้าง, จรรยา แก้วใจบุญ, เรณู บุญทา, และกัลยา จันทร์สุข. (2554). การตั้งครรภ์วัยรุ่น และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น. พะเยา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.

เนตรชนก แก้วจันทา. (2555). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์: ปัจจัย ผลกระทบ และ การป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(1):83-90.

ศรัณยู เรือนจันทร์. (2556). สถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในพื้นที่พัฒนาต้นแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1):101-10.

ลัดดา สายพาณิชย์. (2553). รูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก. สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-27

เวอร์ชัน