การเปรียบเทียบการวัดขนาดไตด้วยอัลตราซาวด์และการตรวจเอ็กซเรย์พิเศษฉีดสี ของระบบทางเดินปัสสาวะ

ผู้แต่ง

  • วิชุนันท์ กันชัย กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การวัดขนาดไต, อัลตราซาวด์ไต, การตรวจเอ็กซเรย์พิเศษ, ระบบทางเดินปัสสาวะ

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง: การวัดขนาดไตมีความสำคัญในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคไต โดยการตรวจอัลตราซาวด์และเอ็กซเรย์พิเศษฉีดสีของระบบทางเดินปัสสาวะ (IVP) เป็นการตรวจวินิจฉัยทางรังสีของระบบทางเดินปัสสาวะที่ใช้บ่อยในโรงพยาบาลชัยภูมิ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบขนาดไตที่วัดได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์และจากเอ็กซเรย์พิเศษฉีดสีของระบบทางเดินปัสสาวะ

วิธีดำเนินการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเดือน มิถุนายน 2555-ธันวาคม 2557 ได้ข้อมูลผู้ป่วย352 ราย จำนวนไต 630 ข้าง ที่ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์และเอ็กซเรย์พิเศษฉีดสีของระบบทางเดินปัสสาวะในระยะเวลาต่างกันไม่เกิน 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลขนาดไตจากการตรวจทั้งสองชนิดเพื่อทำการเปรียบเทียบ

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยขนาดไตขวาและไตซ้ายจากการวัดด้วยอัลตร้าซาวด์เท่ากับ 10.3±1.36 เซนติเมตร และ 10.4±1 เซนติเมตร, ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยขนาดไตขวาและไตซ้ายจากการวัดด้วย IVP เท่ากับ 11.6±1.43 เซนติเมตร และ 11.9±1.52 เซนติเมตร ตามลำดับ ขนาดไตที่วัดได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์และ IVP แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ไตขวาต่างกันเฉลี่ย 1.1±0.9 เซนติเมตร และไตซ้ายต่างกันเฉลี่ย 1.3±0.9 เซนติเมตร (P < 0.01)

สรุป: ขนาดไตที่วัดได้จากการตรวจ IVP มีขนาดใหญ่กว่าจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ แต่เนื่องจากการวัดขนาดไตด้วยอัลตร้าซาวด์มีข้อมูลการศึกษาที่แพร่หลายกว่าและมีค่าปกติที่ชัดเจน การพิจารณาตรวจอัลตร้าซาวด์เพิ่มเติมในรายที่วัดขนาดไตได้ค่อนข้างต่ำใน IVP อาจได้ประโยชน์เพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง

Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS. Harrison’s principles of internal medicine. 16th ed. New York: McGraw Hill, 2005.

Stone JA, Xu X, Winchell GA, Deutsch PJ, Pearson PG, Migoya EM, et al. Disposition of caspofungin: Role of distribution in determining pharmacokinetics in plasma. Antimicrob Agents Chemother, 2004; 48(3):815-23.

Carol M. Rumack, Stephanie R. Wilson, J. William Charboneau; [edited]. Diagnostic ultrasound. St.Louis : Mosby, 1998.

Spiegl G, Jeanty P, kittel F. Ultrasonic measure of the normal kidney. J Belge Radiol 1982; 65 (6):513-8.

Sargent MA, Gupta SC. Sonographic measurement of relative renal volume in children: comparison with scintigraphic determination of relative renal function. AJR Am J Roentgenol, 1993; 161(1):157-60..

Ablett MJ, Coulthard A, Lee RE, Richardson DL, Bellas T, Owen JP, et al. How reliable are ultrasound measurements of renal length in adults?. Br J Radiol, 1995; 68(814):1087-9.

John P. McGahan, Barry B. Goldberg, [editors]. Diagnostic ultrasound: a logical approach. Philadelphia : Lippincott-Raven, 1998.

Emamian SA, Nielsen MB, Pedersen JF. Tenth percentiles of kidney length in adult volunteers. Am J Roentgenol, 1994; 163(3): 748.

Ninan VT, Koshi KT, Niyamthullah MM, Jacob CK, Gopalakrishnan G, Pandey AP, et al. A comparative study of methods of estimating renal size in normal adults. Nephrol Dial Transplant, 1990; 5(10):851-4.

Brandt TD, Neiman HL, Dragowski MJ, Bulawa W, Claykamp G. Ultrasound assessment of normal renal dimensions. J Ultrasound Med, 1982; 1(2):49-52.

Wael El-Reshaid, Husam Abdul-Fattah. Sonographic Assessment of Renal Size in Healthy Adults. Med Princ Pract 2014; 23:432–6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-01

เวอร์ชัน