ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558 ที่มีอายุครรภ์ ≥ 28 สัปดาห์ ทารกต้องมีชีวิต ไม่พิการ มีน้ำหนักแรกคลอด 1,000 กรัมขึ้นไป มีประวัติในเวชระเบียน และบันทึกการคลอดครบถ้วน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ได้แก่ มารดาที่คลอดบุตรที่ประเมินคะแนนแอปการ์ ที่ 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 จำนวน 40 ราย และกลุ่มควบคุม ทำการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เรียงตามลำดับเวลาที่คลอด ได้แก่ มารดาที่คลอดบุตรที่ประเมินคะแนนแอปการ์ ที่ 1 นาที มากกว่า 7 จำนวน 80 ราย รวมทั้งสิ้น 120 ราย จากจำนวนมารดาที่คลอดบุตรมีชีพทั้งหมด 1,934 ราย คิดเป็นอัตราส่วนกลุ่มศึกษาต่อกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1: 2 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและสมุดบันทึกการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ด้วยสถิติอนุมาน (Inferential statistic ) ใช้การทดสอบไคส์แควร์ (Chi-square) และ Fisher’s Exact Test
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มารดาที่มีปัจจัยเสี่ยง อายุครรภ์ < 37 สัปดาห์ มารดามีภาวะความดันโลหิตสูง รกลอกตัวก่อนกำหนด การได้รับยา Oxytocin มีภาวะคับขันในครรภ์ และทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม
เอกสารอ้างอิง
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. ภาวะปกติและผิดปกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2555.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2550.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กประเทศไทย 2551-2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, 2555.
สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, นิพรรณพร วรมงคล, วีนัส อุดมประเสริฐกุล, จงกล ตั้งอุสาหะ, ศุกรินทร์ วิมุกตายน, บุญเทียม เทพพิทักษ์ศักดิ์ และคณะ. การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับมารดาและทารกแรกคลอด : รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, 2553.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. รายงานสถิติงานอนามัยแม่และเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2555-2557. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ, 2557.
งานห้องคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติห้องคลอดประจำปี โรงพยาบาลชัยภูมิ พ.ศ. 2554-2557. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2557.
ชญาศักดิ์ พิศวง, ปริศนา พานิชกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก, 2554; 64(3): 109-19.
มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข, 2551.
โกมุท ชุมภักดี. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลหนองบุญมาก. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5, 2552; 3(6): 19-30.
อร่าม ลิ้มตระกูล. ปัจจัย สาเหตุ และแนวทางในการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2548-2550. วารสารวิชาการสาธารณสุข,2551; 17(2): 303-10.
มนตรี ภูริปัญญวานิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. Journal of health Research, 2551; 22(2): 83-89.
ณัฐกร วงศ์สังข์. การศึกษาภาวะขาด ออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารกรมการแพทย์, 2551; 25(2): 78-86.
Anne L, Luke C & James M. Risk Factors for Neonatal Mortality Due to Birth Asphyxia in Southern Nepal: A Prospective Community-Based Cohort Study. American Academy of Pediatric, 2008; 121: 1381-90.
Chen ZL, He RZ, Peng Q, Guo KY, Zhang YQ, Yuan HH, Liu JX.. Prenatal risk factors for neonatal asphyxia: how risk for each?. Zhongguo Dang Dai Er Ke Aa Zhi, 2009; 11(3): 161-5.
บดินทร์ จักรแก้ว. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลฝาง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2557; 11(2): 20-27.
มานพ เลิศสาครศิริ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Birth asphyxia ในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร, 2546; 28: 1-11.
วีรชัย เตชะเสนา. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในจังหวัดน่าน. อุตรดิตถ์เวชสาร,2555; 27(2): 53-64.
นริศรา แสงปัดสา. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ที่เกิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 2557; 33(4): 237-48.
ธีระ ทองสง, (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์. เชียงใหม่ : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
สุภาพ ไทยแท้. การพยาบาลสูติศาสตร์ : ภาวะผิดปกติในระยะคลอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2554.
เปรมฤดี อริยานนท์. ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 2555; 31(3): 259-68.
พิชิต เผื่อนงูหลือม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในครรภ์ครบกำหนดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 2553; 25(3): 265-78.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-09-02 (2)
- 2019-07-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.