การเปรียบเทียบอุณหภูมิกายที่วัดทางรักแร้และทางทวารหนัก ระหว่างวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล และเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้วในทารกแรกเกิด ในหอผู้ป่วยเด็ก 3 โรงพยาบาลชัยภูมิ : Comparison between Digital Thermometer and Glass Thermometer in Measuring Body Temperature at Axillary and Rectum of Infants Ward 3 of Chaiyaphum Hospital.

ผู้แต่ง

  • Ratana SukUdom

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิกายที่วัดทางรักแร้และทางทวารหนักระหว่างวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล และเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้ว ในทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยเด็ก 3 โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็ก 3 โรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป และข้อมูลการวัดอุณหภูมิกาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชื่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 1 กรกฎาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Kruskal Wallis Test และ ANOVA ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

          ผลการสัดอุณหภูมิกายเฉลี่ในทารกแรกเกิดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างการวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้ว กับเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล ทั้งวัดทางทวารหนักและทางรักแร้ ส่วนการวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลวัดทางรักแร้และทางทวารหนัก วัดอุณหภูมิกายได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

         การวัดอุณหภูมิกายทางทวารหนักด้วยเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้ว เป็นวิธีการวัดที่เป็นมาตรฐาย และมีผลดีในการทดสอบรูทวารหนักในทารกแรกเกิด แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับทารก เช่นการทะลุของทวารหนัก แก้วบาดทวารหนักเมื่อเทอร์โมมิเตอร์แตก นอกจากนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเมื่อใช้ร่วมกับทารกอื่น ดังนั้นการวัดอุณหภูมิกายทางรักแร้จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการวัดทางทวารหนัก จากการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การวัดอุณหภูมิทารแรกเกิดด้วยเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้วทางรักแร้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ใช้แทนการวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์แท่งแก้วทางทวารหนักได้ แต่ไม่ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลวัดอุณหภูมิกายทารกแรกเกิดเพราะมีค่าสูงกว่ามาก เสี่ยงภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01