ผลลัพธ์การรักษาข้อเข่าอักเสบติดเชื้อด้วยวิธีการเจาะดูดจากข้อ เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดล้างข้อ ในโรงพยาบาลชัยภูมิ : Outcome of Treatment for Septic Knee Arthritis Comparison of Needle Aspiration and Arthrotomy Treatment in Chaiyaphum Hospital.

ผู้แต่ง

  • สิทธิ ชัยบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การรักษาข้อเข่าอักเสบจากการติดเชื้อมีหลายวิธี โดยโรงพยาบาลชัยภูมิให้การรักษาด้วยวิธีเจาะดูดจากข้อเข่าอย่างต่อเนื่องและวิธีการผ่าตัดเปิดล้างข้อเข่า แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าการรักษาแบบใดได้ผลการรักษาที่ดีกว่า ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการการศึกษาโดยมรวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาข้อเข่าอักเสบติดเชื้อด้วยวิธีการเจาะดูดจากข้อ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดล้างข้อ ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

          วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาข้อเข่าอักเสบติดเชื้อ ที่เข้ารับการรักษาในกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2554-เดือน ธันวาคม 2556 จำนวน 82 ราย โดยศึกษาถึงการรักษาข้อเข่าอักเสบติดเชื้อด้วยวิธีการเจาะดูดเข่าเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดล้างข้อเข่าเพื่อดูความแตกต่างในด้านระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล การหายขาดจากโรค การเสียชีวิต และการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย หาค่า Mean±Standard deviation (SD.) หาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square tests, p-value<0.05

          ผลการศึกษา ในช่วงที่ศึกษามีผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อจำนวน 92 ราย มีข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 82 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มได้รับการรักษาด้วยวิธีเจาะดูดหนองในเข่าต่อเนื่อง จำนวน 37 ราย และกลุ่มได้รับการผ่าตัดเปิดล้างข้อ จำนวน 45 ราย ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ส่วนสูง น้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย ระยะเวลาเริ่มเจ็บป่วย ตำแหน่งที่เข้าเข่าอักเสบ  ลักษณะทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้น Pre-existing joint disease ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) ส่วนผลการเพราะเชื้อจากน้ำข้อเข่า ส่วนมากเป็นเชื้อ Staphylococcus aureus มากที่สุดทั้ง 2 กลุ่ม (47.6% และ 31.2%) เมื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์การรักษาในเรื่องระยะเวลานอนโรงพยาบาล, หายจากการบาดเจ็บ, การกลับเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล การเสียชีวิต ทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01