Comparative study of Coagulation result between Point of care testing and automated coagulation analyzer in Loei provincial network = เปรียบเทียบผลการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดระหว่างเครื่องแบบ POCT กับเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติในเครือข่ายจังหวัดเลย
บทคัดย่อ
Abstract
The accuracy of POCT (qLabs) for measurement PT and INR in patients who treated with Warfarin, anticoagulant medication is unclear. Therefore, the purpose of this study was to compare the analysis of blood coagulation between POCT (qLabs) and Automatic Sysmex CS-2000i. Automatic Sysmex CS-2000i is the analytical instrument that has been used in Loei hospital and POCT has been used in Loei provincial hospital network. A total of 200 patients were included in this study. There are two levels, normal and therapeutic level of quality control substance that have been used to evaluate the accuracy of qLabs for INR measurement. INR levels of the instruments which was set by the manufacturer are acceptable. Comparing the results of PT and INR, there are the correlation coefficient and Intraclass correlation coefficient(r =0.936, ICC =0.966) and(r =0.930, ICC =0.890), respectively. The results showed statistically significant (P < 0.001). The measurement for average value difference of PT and INR between two instruments analyzed by Bland -Altman plot showed that the results are -0.19 second and-0.37, respectively. In conclusion, using POCT in hospital network is cost effective compared to using automatic Sysmex CS-2000i in Loei hospital for transferring the patients and other expense from complication symptoms because of anticoagulant medication, warfarin. However, POCT users should have been training in order to know the limitation of this instrument and have the proficiency for the most reliable results.
Keyword: Prothrombin time, International normalized ratio, Point of care testing instrument
บทคัดย่อ
การติดตามผลของยาวาร์ฟารินเพื่อการควบคุมขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยนั้น ได้มีการปรับปรุงวิธีการติดตามผลด้วยการรายงานผลเป็นค่า INR (International Normalized Ratio) และพัฒนาเครื่องมือทดสอบการแข็งตัวของเลือด ณ จุดดูแลผู้ป่วย แต่ยังมีข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของผลการตรวจ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์การแข็งตัวของเลือดระหว่างเครื่องแบบ POCT ยี่ห้อ qLabs ในโรงพยาบาลเครือข่ายกับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Sysmex CS-2000i ที่ใช้ในโรงพยาบาลเลย ศึกษาในผู้ป่วยที่ติดตามการรักษาด้วยยาวาร์ฟารีน จำนวน 200 คน ศึกษาค่าความเที่ยงตรงของการตรวจวัด INR ด้วยเครื่อง qLabs โดยใช้สารควบคุมคุณภาพทดสอบที่ความเข้มข้น 2 ระดับคือระดับปกติและที่ระดับการรักษาพบว่า ทุกเครื่องมีค่า INR อยู่ในช่วงที่กำหนดจากผู้ผลิต อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ เปรียบเทียบผลการตรวจวัดค่า PT และค่า INR พบว่าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์และค่าความสอดคล้องระหว่างเครื่องอยู่ในระดับสูง (r เท่ากับ 0.936, ICC เท่ากับ 0.966)และ (r เท่ากับ 0.930, ICC เท่ากับ 0.890) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ผลการวิเคราะห์ด้วย Bland -Altman plot สำหรับการทดสอบ PTและ INR มีค่าเฉลี่ยของความแตกต่าง (mean different) เท่ากับ -0.19 วินาทีและ -0.37 ตามลำดับ หากพิจารณาใช้เครื่อง POCT ในโรงพยาบาลในเครือข่ายจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้ แต่ทั้งนี้การตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง POCT ผู้ใช้งานควรศึกษาข้อจำกัดและมีการอบรมการใช้เครื่องจนมีความชำนาญในการใช้งานเพื่อให้ผลการตรวจ ถูกต้องน่าเชื่อถือสูงสุด
คำสำคัญ: PT, INR, เครื่อง POCT
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-18 (2)
- 2020-08-20 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.