This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

Nursing care for neonatal with jaundice : case study 2 case

การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพชรดา ทองศรี Thepparat Nakhonratchasima Hospital

บทคัดย่อ

Hyperbilirubinemia is a common symptom of physiological conditions, which is

considered a normal condition for all newborns, however, having high level of bilirubin can result in brain damage and death. According to the past three years data provided by the Neonatal Intensive Care Unit, Nakhon Ratchasima Hospital, nursing care for newborns with jaundice is necessary and effectively neonatal nursing skills are required. 

Objective : To study nursing care for newborns with jaundice by addressing two cases study.

Methods : The methods are to study descriptively the hyperbilirubinemia in

newborns both with low birthweight and normal birthweight hospitalized in Debaratana Nakhonratsima hospital. The study methods for two cases study consist of hyperbilirubinemia record, Inpatient medical records, nursing care by interviewing the mothers, observation, supervision, data analysis comparison on disease conditions and symptoms including physical signs, medical treatment, problems, nursing diagnosis, discharge planning and nursing care regarding to the Orem’s nursing concept (Orem. 1991) during the treatment and discharge planning.

Results : 1st Case study; 1 day-old male newborn, weighing 2,160 grams, born

with hyperbilirubinemia and a record of premature delivery GA 35+ 5 wk, multiple pregnancy, 10 days of hospitalization in total.

 2nd Case study: 7 days-old female newborn, weighing 3,270 grams, hyperbilirubinemia occurs after the 7th day of birth, full-term infant GA 38+ 3 weeks, caesarean, 2 days of hospitalization in total.

Disciption : Nursing care for two newborns are different in disease conditions.

Nursing care for low birthweight newborns is more complicated than nursing care for normal birthweight newborns. The closely observation care has been provided by applying an inclusive nursing care to the newborns. The newborns were safe and there were no complications.

 Keyword : neonatal with jaundice

 

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal jaundice) เป็นอาการที่พบได้บ่อย ทางด้าน

สรีรวิทยาถือว่าเป็นภาวะปกติเกิดได้กับทารกทุกคน แต่การมีระดับบิลิรูบินที่สูงมากจะมีผลทำให้สมองพิการและเสียชีวิตได้ การให้การพยาบาลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีทักษะของพยาบาลทารกแรกเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองกรณีศึกษา 2 ราย

วิธีดำเนินการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในทารกแรกเกิดป่วยที่มีภาวะตัวเหลืองน้ำหนักตัว

น้อยและน้ำหนักตัวปกติ ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา กรณีศึกษาทารกแรกเกิด 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเวชระเบียนผู้ป่วยใน การพยาบาลการสัมภาษณ์มารดา สังเกต นิเทศติดตาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่ายและการดูแลเชิงเนื้อหา ตามแบบการพยาบาลของโอเร็ม (Orem. 1991) ระหว่างการรักษาและการวางแผนการจำหน่าย

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 ทารกเพศชาย อายุ 1 วัน น้ำหนัก 2,160 กรัม มีภาวะตัวเหลือง

ประวัติมารดาคลอดก่อนกำหนด GA 35+5 wk คลอดแฝด รวมวันนอนรักษา 10 วัน

กรณีศึกษาที่ 2 ทารกเพศหญิงอายุ 7 วัน น้ำหนัก 3,270 กรัม หลังคลอด 7 วันมีภาวะตัว

เหลือง ประวัติมารดาตั้งครรภ์ครบกำหนด GA 38+3 wk ผ่าท้องคลอด รวมวันนอนรักษา 2 วัน

สรุป : การให้การพยาบาลทารกแรกเกิดทั้ง 2 ราย มีพยาธิสภาพอาการต่างกัน ทารกที่มีน้ำหนัก

ตัวน้อยการพยาบาลมีความซับซ้อนมากกว่าทารกน้ำหนักปกติ ได้ให้การพยาบาลเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการพยาบาลให้ครอบคลุม ทารกแรกเกิดมีชีวิตรอดปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

 คำสำคัญ : ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-02

เวอร์ชัน