Self Care of Elderly in Amphoe Bang Ban, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya - การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Abstract
The objectives of this descriptive study were to study and to compare self health care of elderly on the variables of sex and occupations of the elderly. The research population were elderly of both sexes, living in villages of Amphoe Bang Ban, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya. The sample size of 555 were stratified randomly drawn from the 6,276 persons in 111 villages. The instrument used for data collection was a set of questionnaire all verified for content validity and reliability. Data was collected in May 2007. The returned questionaries were 492 from 555 (88.65%) . The obtained data were then statistically analysed by percentiles, means and standard deviations. The t-test and one-way analysis of variance were appied to determine the significant differences between means by Schaffeีs test. The results of this study revealed that most of the samples were female (64.60%), ranging in ages from 65 to 69 years (40.20%), had primary school education (88.41%) and farmers (61.59%). Most of them had received health education on self care from health care teams (78.90%). Self care were reported at a good level on nutrition, rest and sleep, exercise, narcotics drug and mental health. The comparison of self care between the males and females revealed there were no statistical differences at 0.05 level. Likewise, comparison of self care in elderly among different occupations showed no statistical differences at 0.05 level. As a result, it is highly recommended that self care in elderly should be encouraged and promoted by family, health care team and elderly groups continuously. Participation and group process have brought about many changes to members especially experiences in self care of elderly.
Key words: elderly, health, self care
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดูแลสุขภาพ ตนเองของผู้สูงอายุ ตามตัวแปรเพศ และอาชีพเดิมของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งหมด111 หมู่บ้าน จำนวน 6,276 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นสัดส่วนหมู่บ้านละ 5 คน ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 555 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยนำมาทดลองใช้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น เก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 492 คน คิดเป็นร้อยละ 88.65 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทด อบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Schaffe’s test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 64.60 มีอายุระหว่าง 65-69 ปี ร้อยละ 40.20 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.41 และมีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 61.59 โดยส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมาจากบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 78.90 มีการดูแลสุขภาพตนเองในด้านการกินอาหาร การนอนหลับและการพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย การใช้ ารเสพติด การรักษาสุขภาพจิต โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี การเปรียบเทียบการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้สูงอายุชายกับผู้สูงอายุหญิง พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในการเปรียบเทียบการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้สูงอายุที่มีอาชีพเดิมต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ ูงอายุควรมีการส่งเสริมและสนับสนุน ตลอดจนมีการกระตุ้นการมีกิจกรรมทั้งจากบุคคลภายในครอบครัว บุคลากรสาธารณสุขและชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่ม sและให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ,สุขภาพ, การดูแลสุขภาพตนเอง