Sensitivity and Specificity of Saliva Test for HIV Antibody -ผลการศึกษาความไวและความจำเพาะของการตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อเอดส์ในน้ำลายเปรียบเทียบกับในน้ำเหลือง
Abstract
Objective to determine sensitivity and specificity of saliva test compares to serum to detect antibody for HIV
Methodology: Total of saliva and serum specimens were collected. 1 ,955 specimens among the study population; intravenous drug users, female prostitutes, and male sexually transmitted diseases (STD). The study sites were STD clinics purposiverly selected from 4 provinces. All blood specimens were tested at each site by using ELISA test and confirmed by Western Blot. in addition, saliva specimens were collected by using Omni-sal device and tested by GACELISA test. The results of the serum and saliva tests were analised and compared.
Since the study was a multicenter study, we need quality control assurance.
Results: each site had the same standard for laboratory after quality assurance had been applied. The sensitivity of saliva test was 98% (292/298) and specificity was 99.4% (1643/1653).
Discussion: this study is the first step to determine the alternative screening test beside serum, which still need more further study to the question should we use saliva test instead of serum in some high risk groups. (115)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความไวและความจำเพาะในการใช้น้ำลายตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอดส์เปรียบเทียบกับวิธีตรวจด้วยน้ำเหลือง ในประชากรกลุ่มเสี่ยง
วิธีการศึกษา: เก็บวัตถุตัวอย่างน้ำลายและเลือดได้จาก 1,955 คน จาก 4 จังหวัด ในช่วงเก็บข้อมูลเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ ซึ่งประชากรกลุ่มที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้ติดยาเสพติด กลุ่มหญิงบริการ และกลุ่มผู้ชายที่มารับบริการที่สถานบริการ วัตถุตัวอย่างได้รับการเก็บแบบ anonymous การเก็บน้ำลายโดยอุปกรณ์การเก็บ ของบริษัท Omni-sal collection เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอดส์โดยใช้น้ำยาของ GACELISA test ซึ่ง Gold Standard ที่ใช้ คือผลการตรวจน้ำเหลือง ซึ่งตรวจคัดกรองโดยใช้ Elisa test และตรวจยืนยันโดยใช้ Western Blot การ Linkage ผลระหว่างน้ำลายและน้ำเหลืองตามลักษณะ single blind นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการวิเคราะห์ ผลการควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการสำหรับน้ำลายและน้ำเหลืองเพื่อให้ได้มาตรฐานในการแปรผลและประเมินคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ
ผลการศึกษา: จาการศึกษาการควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการพบว่าคุณภาพในการตรวจน้ำเหลืองทางห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานเหมือนกันทุกแห่งไม่มีความแตกต่างระหว่างการแปรผลที่ได้จากการตรวจน้ำลายและน้ำเหลือง พบว่า ความไว (sensitivity) ของ GACELISA ในน้ำลายเท่ากับร้อยละ 98 (292/298) ความจำเพาะของ (specificity) GACELISA เท่ากับ ร้อยละ 99.4 (1,643/1,653) อัตราความชุกของอัตราการติดเชื้อเอดส์เท่ากับ ร้อยละ 15.3
วิจารณ์และข้อเสนอแนะ: หากมีการศึกษาต่อไปควรคำนึงถึงการประเมินค่าใช้จ่ายในการเก็บวัตถุตัวอย่างโดยวิธีน้ำลายรวมทั้งความเป็นไปได้ในการใช้ในกรณีของการเฝ้าระวังโรคในบางกลุ่ม