The Study of Patient's Satisfaction on Out-Patient Services of Petchaboon Hospital-การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ ที่มีต่อการให้บริการที่แผนกผผู้ผป่วยของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์
Abstract
The purpose of this research was to study the satisfaction of patients and nurse personnel on services of three units of the Out-Patients Department in Petchaboon hospital. These included registration unit, examination unit and pharmacy unit. The study samples were one-hundred and fifty new patients attending Out-Patient Department during December 1989 - January 1990, and nine nurse personnel. The researcher collected data by conducting interview using a questionnaire. The frequency, mean and standard deviation were calculated. The result showed the similar level of satisfaction of both patients and nurse personnel. Moderate satisfaction on out-patients services was similarly observed in the examination unit, registration unit and pharmacy unit. It was found that the satisfaction was at low level due to long waiting time. The results of this study were useful for the researcher to improve services of the Out-Patient Department, especially on human relationship, provision of information, reduce waiting time and increase use of effective medical instruments.
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดหมายเพื่อการศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่มีต่อการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ในหน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ หน่วยงานเวชระเบียน หน่วยตรวจโรค และหน่วยห้องยา กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นครั้งแรก ระหว่างเดือนธันวาคม 2532 ถึงเดือนมกราคม 2533 จำนวน 150 ราย และเป็นเจ้าหน้าทื่ทางการพยาบาล 9 ราย ในหน่วยงานดังกล่าว แห่งละ 3 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ยและส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล ที่มีต่อการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกมีความคล้ายคลึงกัน ในหน่วยงานทั้ง 3 แห่ง คือ หน่วยตรวจโรค, หน่วยเวชระเบียน และหน่วยห้องยา มีความพึงพอใจในระดับปานกลางทั้ง 3 หน่วยงาน แต่ก็พบว่ามีความพึงพอใจในระดับต่ำในเรื่องการรอคอยนาน และที่นั่งไม่เพียงพอ ทำให้เหนื่อยล้า จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการปฏิบัติงาน โดยปรับปรุงการพัฒนาการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกให้ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านมนุษย์สัมพันธ์ การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และการลดระยะเวลาในการให้บริการ ตลอดจนเพิ่มอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพที่มีดียิ่งขึ้นต่อไป