Quality Improvement in Drugstore: A Case Study of Changwat Phetchabun - การพัฒนามาตรฐานร้านยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือควบคุมพิเศษ : กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • Boadsaporn Anusornpanichakul
  • Nusaraporn Kessomboon
  • Sittiporn Teerakoson
  • Tivaporn Jankaw

Abstract

Abstract

          The objective of this quasi-experimental research was to study the effect of participation in problem solving on quality improvement in drugstore in Changwat Phetchabun in the aspects of  physical set-ups of drugstores, cognitive domain, affective domain and psychomotor domain of 48 drugstore operators.

          Fourty eight operators voluntarily participated in this quasi experimental study carried out during June 2004-May 2005. The reliability tests on questionnaires on the three domains yielding Cronbach's alpha coefficients of 0.8015., 0.7621 and 0.8162 respectively. Descriptive statistical analysis and paired t-test were used at 0.05 level of siginificance.

          The results were as follows: 1) The physical set-ups of drugstore classified under general section showed statistically significant improvement. Regarding the essential requirement section, it showed only an increase in scores. 2) Two drugstores received one-year quality certificates. 3) The cognitive domain of the drugstore operators especially in the aspects of remember and understanding showed statistically significant scoring improvement. 4) The affective domain (receiving or attending and responding) and the psychomotor domain (perception and set) of the drugstore operators showed only an increase in their scores.

          These results support the concept that the participatory problem solving method can improve the quality of drugstore.

Key words: drugstore, standard drugstore, drugstore improvement, participatory problem solving method

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่อการพัฒนามาตรฐานร้านยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือควบคุมพิเศษ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพของร้านยาด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ดำเนินการร้านยา

          กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดำเนินการร้านยาฯ ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน ๔๘ คน โดยวิธีการวิจัย กึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง ระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ ถึงพฤษภาคม ๒๕๔๘ ตรวจ สอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค โดยค่าความเที่ยงด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ มีค่า ๐.๘๐๑๕, ๐.๗๖๒๑ และ ๐.๘๑๖๒ ตามลำดับ วิเคราะห์ผลที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕

          ผลการวิจัยแสดงว่าการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของร้านยาในหมวดทั่วไปดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหมวดข้อจำเป็นพื้นฐานและจุดบกพร่องรุนแรง มีค่าคะแนนสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ร้านยาจำนวน ๒ ร้าน ได้รับป้ายร้านยามาตรฐานถาวรซึ่งมีอายุ ๑ ปี ความรู้ (การจำ และความเข้าใจ) มีค่าคะแนน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทัศนคติ (การได้รับหรือการใส่ใจ และการตอบสนอง) และการปฏิบัติ (การรับรู้ และกำหนดการ) มีค่าคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

          ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าการใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา มาตรฐานร้านยาได้

คำสำคัญ: ร้านยา, ร้านยามาตรฐาน, การพัฒนาร้านยา, การใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2019-05-25

How to Cite

Anusornpanichakul, B., Kessomboon, N., Teerakoson, S., & Jankaw, T. (2019). Quality Improvement in Drugstore: A Case Study of Changwat Phetchabun - การพัฒนามาตรฐานร้านยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือควบคุมพิเศษ : กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. Journal of Health Science of Thailand, 15(1), 123–132. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6723

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)

Most read articles by the same author(s)