Unit Cost of Out-patient and In-patient Services at Mahasarakham Hospital, Fiscal Year 2004 - ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีงบประมาณ ๒๕๔๗
Abstract
Abstract
The study was aimed to analyse unit cost of out patient (OPD) and in patient department on at Mahasarakham hospital in the fiscal year 2004 (October 1, 2003 to September 30, 2004) and to compare the unit costs derived from applications of simultaneous equation and direct distribution allocating method. The unit cost analysis was performed under provider's perspective and accounting approach.
The unit cost of OPD showed the range from 278.35 to 1,954.81 baht per visit or an average of 414.23 baht per visit. The unit cost of IPD showed the range from 5,303.94 to 101,516.40 bath per case or an average of 8,164.34 baht per case; 1,544.11 to 5,296.94 baht per day or an average of 2,158.23 baht per day. The difference of unit cost between simultaneous equation method and direct distribution method ranged from 0.04 percent to 16.83 percent or an average of 6.91 percent.
In conclusion, International Health Policy Program - IHPP costing guideline can be applied to analyse the unit cost of general hospital and the results can be used as an input for the hospital strategic management. In addition, not only the cost allocation criteria should be a concern in hospital costing but also the cost allocation technique.
Key words: unit cost, out-patient, inpatient, medical services, simultaneous equation method, direct distribution method
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีงบประมาณ ๒๕๔๗ และเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการที่ได้จากการกระจายโดยใช้วิธี กระจายโดยตรง และวิธีสมการเส้นตรง โดยศึกษาในมุมมองผู้ให้บริการ รวบรวมข้อมูลย้อนหลังระหว่าง เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ถึงกันยายน ๒๕๔๗
ผลการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอก อยู่ระหว่าง ๒๗๘.๓๕ ถึง ๑,๙๕๔.๘๑ บาทต่อครั้ง เฉลี่ย ๔๑๔.๒๓ บาทต่อครั้ง ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยในอยู่ระหว่าง ๕,๓๐๓.๙๔ ถึง ๑๐๑,๕๑๖.๔๐ บาทต่อราย เฉลี่ย ๘,๑๖๔.๓๔ บาทต่อราย และ ๑,๕๔๔.๑๑ ถึง ๕,๒๙๖.๙๔ บาทต่อวันนอน เฉลี่ย ๒,๑๕๘.๒๓ บาทต่อวันนอน ความแตกต่างระหว่างต้นทุนต่อหน่วยบริการวิธีสมการเส้นตรง กับวิธีการกระจายโดยตรง อยู่ระหว่างร้อยละ ๐.๐๔ ถึง ๑๖.๘๓ เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ ๖.๙๑
แนวทางการศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการตามแบบมาตรฐานสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ช่วยในการวิเคราะห์ต้นทุนของโรงพยาบาลทั่วไปได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อควรคำนึงเพิ่มเติมในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยบริการ คือการเลือกวิธีการกระจายต้นทุน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการกำหนดเกณฑ์การกระจาย
คำสำคัญ: ต้นทุนต่อหน่วย, ผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยใน, วิธีการกระจายแบบสมการเส้นตรง, วิธีการกระจายโดยตรง