Financing Health Promotion in Thailand - การคลังเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย
Abstract
Abstract
Burden of diseases caused by several risk factors could be greatly reduced through effective public health interventions, prevention and health promotion measures, for example, the promotion of safe sex, alcohol and tobacco consumption control, promotion of physical fitness and exercise The objective of this comparative study was to assess the financing of health promotion between 2 different country-contexts: Thailand and OECD members based on analysis of secondary data. The duration of the study was between August 2005 and March 2006.
It was found that Thailand spent 8.9 percent of the total health expenditure on prevention and health promotion (PHP). Of the total spending on PHP, 99.42 percent came from the government funding sources and none from social health insurance. Whereas in the 14 selected members of OECD (Organization for Economic Cooperation and Development), the average investment in PHP was lower than that of Thailand, 3.5 percent of the total health expenditure, and 73.5 percent came from the government, 12 percent from social health insurance. It is, therefore, concluded that, Thailand invested quite heavily in PHP in terms of proportion of total health expenditure, though in per capita spending on PHP, it was still small. The Thai government plays the leading role in PHP, whereas social health insurance plays very minor role.
It is recommended that diversification of funding sources for PHP by encouraging social health insurance to include PHP in its benefit package to the beneficiaries, promoting investment by private sector through tax incentive for firms which implement health promotion activities in the workplace and collecting additional tax from industries which polluted the environment and jeopardized human health by introducing environmental tax and levies.
Key words: finance, health promotion, Thailand
บทคัดย่อ
มาตรการทางด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย การควบคุมการบริโภคยาสูบและแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย จัดเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งสามารถลดภาระโรค (burden of diseases) ที่สำคัญลงได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินสถานการณ์การลงทุนด้านการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพใน ๒ บริบท ได้แก่ บริบทสากลและบริบทประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดําเนิ การในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ - มีนาคม ๒๕๔๙
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของประเทศในกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development - OECD) เปรียบเทียบกับประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีการลงทุนทางด้านสร้างเสริมสุขภาพร้อยละ ๘.๙ ของรายจ่ายด้านสุขภาพโดยร้อยละ ๙๙.๔๒ มาจากภาครัฐแต่ไม่มีส่วนของประกันสังคม ในขณะที่ประเทศสมาชิก OECD ๑๔ ประเทศ มีการลงทุนทางด้านนี้ เฉลี่ยเพียงร้อยละ ๓.๕ ของรายจ่ายสุขภาพทั้งหมด และร้อยละ ๗๓.๕ มาจากภาครัฐ อัตราส่วนจากประกันสังคมเป็นร้อยละ ๑๒ แม้ประเทศไทยมีการลงทุนทางด้านสร้างเสริมสุขภาพค่อนข้างสูงเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนของรายจ่ายสุขภาพ แต่เมื่อพิจารณาเป็นจำนวนเงินต่อหัวประชากรแล้วยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าการประกันสังคมในประเทศไทยไม่มีการลงทุนทางด้านสร้างเสริมสุขภาพ
ดังนั้น ประเทศไทยควรหาแหล่งทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพิ่มขึ้น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น จากกองทุนประกันสังคมโดยขยายสิทธิประโยชน์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชนโดยมาตรการลดหย่อนภาษีแก่ธุรกิจที่มีโครงการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นพิษต่อสุขภาพ รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพื่อลดภาระโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ: การคลัง, การสร้างเสริมสุขภาพ, ประเทศไทย