Application of Epidemiological Surveillance for the Prediction of Dengue Hemorrhagic Fever Epidemic in Thailand-การประยุกต์ระบบการเฝ้าระวังโรคเพื่อพยากรณ์การระบาดโรคไข้เลือดออก
Keywords:
-Abstract
The study of correlation between officially reported dengue hemorrhagic fever (DHF) cases during January to April and reported DHF cases throughout the year taking from Epidemiological Surveillance Report of the Division of Epidemiology, Ministry of public health during 1980 – 1991 , was found that the correlation coefficient was 0.910 with statistically significant and regression equation was Y = 16018.82 + 8.16 X, R squared was 0.828. The study of correlation between seropositive DHF cases during January to April and seropositive DHF cases throughout the year taking from the laboratory report of the Virus Research Institute, Department of Medical Sciences in 1981 and 1985 – 1991, was found that the correlation coefficient was 0.851 with statistically significant and regression equation was Y = 2059.80+1.26X equation was Y = 0.7249. The correlation between reported cases, seropositive cases during January to April and the reported cases throughout the year, was found multiple that correlation coefficient was 0.939 with statistically coefficient and regression equation was Y = 10646.11 – 34.41X1+11.35X2, R squared was 0.8835.
The result of this study can be used to forecast accurately to 82.88%, 72.48%, and 88.35% of patients throughout the year respectively by using the number of cases during January to April(dry season in Thailand). It helps us to predict tendency of the epidemics of the disease, it will be useful to apply the epidemiological surveillance for prompt and effective control DHF in the province of Thailand which pose public health problems.
จากการนำจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่รายงานปี 2524 – 2534 ของกองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยในช่วงระยะเดือน มกราคมจนถึงเมษายน กับผู้ป่วยตลอดปี พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient “R”) เท่ากับ 0.910 และสมการถดถอย Y = 16018.82 + 8.16 X, R2= 0.8288 จากการศึกษาจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2528 – 2534 ของสถาบันวิจัยไวรัส กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการในช่วงระยะเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน กับจำนวนผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการตลอดปีใน พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2534 พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.851และสมการถดถอย Y = 2059.80+1.26 X, R2=0.7249 เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ จำนวนผู้ป่วยที่รายงานในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน กับจำนวนผู้ป่วยตลอดปี พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน และและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ(Multiple Correlation coefficient ) เท่ากับ 0.939 และสมการถดถอยพหุคูณ Y= 10646.11 – 34.41X1 +11.35X2, R2=0.8835 ผลการศึกษาข้างต้นแสดงว่าจำนวนผู้ป่วยที่เฝ้าระวังในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นฤดูแล้งก่อนการระบาดของโรค นำไปพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยตลอดปีได้แม่นยำ 82.88%, 72.48%, และ 88.35% ตามลำดับ น่าจะมีประโยชน์สำหรับระดับประเทศและระดับจังหวัดที่โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุข นำไปประยุกต์ใช้เพื่อทราบแนวโน้มการระบาดล่วงหน้า ช่วยให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพและทันท่วงที