Evolution in the Conservative Treatment of Humeral Shaft Fractures in Chon Buri Hospital - การพัฒนาการรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วน shaft หัก ในโรงพยาบาลชลบุรี

Authors

  • Winith Asawakittiporn

Abstract

               The objective of this retrospective study was to exoaluate the improvement of the conservative treatment of closed humeral shaft fracture in Chonburi hospital in the first phase of this study from 1 January to 31 December 2006.   With a conservative treatment, limitations of shoulder and elbow motion were observed and further rehabilitation program was required.  Among the patients who underwent conservative treatment, 50 percent loss in a follow up, 25 percent nonunion and 52 percent of closed humeral shaft fracture cases had requested without proper indication because they could not tolerate the immobilization in U slab any further.  The functional brace is the key to improve the result of the conservative treatment.  So the longitudinal descriptive study in the second phase was to evaluate the effectiveness and appropriate applicability of the functional brace inChonBuriHospitalduring 1 April 2007-31 March 2008.  The study included 34 patients (27 males, 7 females; mean age 30.1 years; range 11 to 64 years) who were treated with functional bracing for humeral shaft fractures.  The functional results were assessed using modified Wasmer score.  The mean follow up was 23.8 weeks (range 18 to 26 weeks).  Complete union was achieved in all of the patients within (mean) 11.7 weeks.The functional results were excellent among 79.4 percent and good in 20.6 percent of the patients.  All participated with very good compliance and showed no complications.  In conclusion, functional brace should be a primary choice of conservative treatment in closed humeral fracture in Chon Buri hospital.

Key words:        functional brace, conservative treatment, humeral shaft fracture

              จุดประสงค์ของการศึกษาแบบย้อนหลังนี้เพื่อประเมินผลการพัฒนาการรักษาแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วนshaftหักในโรงพยาบาลชลบุรีและรวบรวมและวิเคราะห์ผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วนshaft หัก ในโรงพยาบาลชลบุรี ในการศึกษาระยะที่ 1 ตั้งแต่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2549 พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในส่วนการรักษาแบบประคับประคอง โดยผู้ป่วยทุกรายที่รับการรักษามีปัญหาข้อศอกและข้อไหล่ยึดติดและไม่มาตรวจตามนัดสูงถึงร้อยละ 50 มีอัตราที่กระดูกไม่ติดถึงร้อยละ 25 และพบผู้ป่วยกระดูกหักแบบไม่มีแผลเปิดถึงร้อยละ 52 ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโดยไม่จำเป็น จึงได้ศึกษาในระยะที่สองเพื่อพัฒนาการรักษาแบบประคับประคองโดยการใช้ กายอุปกรณ์เสริมสำหรับกระดูกต้นแขนส่วน shaft หัก (functional brace) ที่ผลิตขึ้นใช้ในโรงพยาบาลชลบุรี เพื่อทดแทนวิธีการรักษาแบบประคับประคองเดิม ซึ่งใช้ U slab โดยศึกษาในผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วนshaft หักในโรงพยาบาลชลบุรีตั้งแต่ 1 เมษายน2550 -31 มีนาคม 2551 รวม 34 ราย เป็นชาย 27 ราย หญิง 7 ราย อายุเฉลี่ย 30.1 ปี ประเมินผลของการรักษาโดยใช้ modified Wasmer score ระยะเวลาตรวจติดตามเฉลี่ย 23.8 สัปดาห์ (18-26สัปดาห์) พบว่าได้ผลดีเยี่ยม ร้อยละ 79.4 และได้ผลดีร้อยละ 20.6 ประเมินการติดของกระดูกโดยดูจากอาการทางคลินิกและภาพถ่ายเอกซเรย์พบว่าผู้ป่วยกระดูกติดดีทุกราย ระยะเวลาเฉลี่ย 11.7สัปดาห์ ทุกรายสามารถยอมรับการรักษาด้วยกายอุปกรณ์เสริมฯได้จนสิ้นสุดการรักษาและไม่มีปัญหาข้อศอกหรีอข้อไหล่ติด ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ กายอุปกรณ์เสริมฯเป็นการรักษาอันดับแรกในการรักษาแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วนshaft หัก เพื่อเป็นการพัฒนาวิธีการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรีต่อไป

คำสำคัญ:   กายอุปกรณ์เริมสำหรับกระดูกต้นแขนส่วน shaft หัก, การรักษาแบบประคับประคอง,

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2018-11-08

How to Cite

Asawakittiporn, W. (2018). Evolution in the Conservative Treatment of Humeral Shaft Fractures in Chon Buri Hospital - การพัฒนาการรักษาแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยกระดูกต้นแขนส่วน shaft หัก ในโรงพยาบาลชลบุรี. Journal of Health Science of Thailand, 17(Sup.3), SIII696–708. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5111

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)