A Meconium Aspiration Syndrome in Infants at Pranungklao Hospital-กลุ่มอาการสูดสําลักขี้เทาในทารกแรกเกิด ของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
Keywords:
-Abstract
A retrospective study of meconium aspiration syndrome was conducted at Pranungklao Hospital during a 3-year period from January 1991 to December 1993. Nine infants (7 male and 2 female) with meconium aspiration syndrome were analysed. All of the infants were full-term with body weight over 2,500 grams. Three cases (33.33%) were delivered by cesarian section. Seven (77.77%) had low APGAR score at 5 minute. All were oral suctioned after delivery but 3 (33.33%) were oral suctioned and tracheal suctioned by using endotracheal tube. All (100%) needed oxygen therapy, 2 (22.22%) needed respirator supports and were died. 3 (33.33%) found abnormal of chest roentgenography.
This study found that the factor related to the outcomes of treatment was low APGAR score at 5 minute. Appropiate antenatal and postnatal management guideline should be established and emphasized to decrease morbidity and mortality of meconium aspiration syndrome in infants.
ได้ศึกษาวิเคราะห์ย้อนหลังกลุ่มอาการสําลักขี้เทาในทารกแรกเกิดที่รับไว้ในหอผู้ป่วยในกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ระหว่างเดือนมกราคม 2535 ถึงเดือน ธันวาคม 2537 จํานวน 9 รายเป็นชาย 7 ราย หญิง 2 ราย เป็นทารกคลอดครบกําหนดและมีน้ําหนักตัวมากกว่า 2,500 กรัม ทั้ง 9 ราย ทารก 3 ราย (33.33%) ได้ รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทารก 7 ราย (77.77%) มีค่า APGAR ที่ 5 นาที ต่ํากว่า 6 ทารกทุกรายได้ รับการดูดขี้เทาในช่องปากทันทีหลังคลอด ทารก 3 รายเท่านั้นที่ได้รับการใส่ท่อหลอดลม(endotracheal tube) ดูดขี้เทาในหลอดลมออก ทารกทุกรายได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน โดย 2 ราย (22.22%) มีภาวะหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและเสียชีวิตทั้งหมด การถ่ายภาพรังสีของปอดพบมีความผิดปกติเพียง 3 ราย (33.33%) ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค คือ การมีค่า APGAR ที่ 5 นาทีต่ํา เพราะฉะนั้น การฝากครรภ์ การดูแล ทารกระหว่างคลอดและหลังคลอดอย่างดี จะช่วยลดความพิการและอัตราการตายของทารกได้