Effects of Health Education Patterns to Reach Health For All in Nan Urban Area-ผลของรูปแบบการดําเนินงานสุขศึกษา ต่อการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเขตเมือง จังหวัดน่าน

Authors

  • Pikun Hengsanankul
  • Sujinda Wunnawat

Keywords:

-

Abstract

         The purpose of this study was to find the best way to promote communities to reach Health For All criteria by using health education methods. The study was conducted in 26 communities of Muang District of Nan Province. It was found that most households in the communities rece messages from television, radio and newspapers. Communities which had reached Health For All criteria had received the messages more than the other communities. All communities had significantly better knowledge in Health For All criteria after the health education framwork was introduced (p < .001). Although no significant differences between the two groups of communities found dued to different frequency of communications, this study found the differences in (1). personnel visits, (2) display of Basic Minimum Needs' form, (3) community committee's activities. (4) health volunteer team meeting and (5) health volunteers' meetings with people.

         This study demonstrated that health education strategies to reach Health For All criteria should comprise the use of BMN forms, personnel visits, which usually addressed the problems and how to solve them at all level of community meetings. These made health education process tangibly sustainable and a way for Communities to reach Health For All.


     การศึกษานี้ มีความประสงค์จะหาแนวทางการเข้าถึงชุมชน โดยใช้กิจกรรมทางสุขศึกษาเพื่อสร้างความเข้า ใจแก่ชุมชนและให้เกิดความร่วมมือที่ดีของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยเพื่อการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า 

          ผลของการวิจัยพบว่า กิจกรรมสุขศึกษาผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อที่ชุมชนได้รับสูงสุด ทั้งก่อนและหลังการ Approach ด้วยกิจกรรมสุขศึกษา ชุมชนบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า (14 ชุมชน) ได้รับข่าว สารทุกประเภทสูงกว่าชุมชนที่ไม่บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า (12 ชุมชน) หลังการ Approach ด้วยกิจกรรมทาง สุบศึกษาชุมชนทั้งสองกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องชี้วัดการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (a = 0.001) อนึ่ง ความถี่ห่างของการได้รับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า แต่การ เข้าเยี่ยมแนะนําของเจ้าหน้าที่ การสื่อโดยการติดแบบประเมิน จปฐ. 25 ข้อ การรวมตัวของคณะกรรมการชุมชน การสื่อผ่านการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประชุมชาวบ้านของคณะกรรมการชุมชน การประชุมของ อสม. และการประชุมของ อสม.กับชาวบ้าน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (a = 0.05) 13 จากผลการศึกษาดังกล่าวอาจสรุปได้ว่ากิจกรรมทางสุขศึกษาที่เหมาะสมสําหรับชุมชนเขตเมือง จังหวัดน่าน เพื่อการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าผ่านสื่อต่างๆ ที่ ชุมชนได้รับ การสร้างให้ชาวบ้านรู้จักปัญหาของครอบครัวโดยใช้แบบประเมิน จปฐ. ควบคู่กับการชี้แนะของเจ้า หน้าที่ การสื่อปัญหาและแนวทางแก้ไขผ่านการประชุมอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอและเป็นรูปธรรมสามารถนําไป สู่การบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าของชุมชนได้ 


Downloads

Download data is not yet available.

Published

2019-05-26

How to Cite

Hengsanankul, P., & Wunnawat, S. (2019). Effects of Health Education Patterns to Reach Health For All in Nan Urban Area-ผลของรูปแบบการดําเนินงานสุขศึกษา ต่อการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเขตเมือง จังหวัดน่าน. Journal of Health Science of Thailand, 4(3), 193–202. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6759

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)