การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของ ชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • จิตรกร วนะรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง, การดูแลสุขภาพ, พึ่งตนเอง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง และพัฒนา รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน ผู้สูงอายุติด บ้านติดเตียงทั้งหมด จำนวน 18 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน แบบประเมินภาวะสุขภาพและ การพยาบาลผู้ป่ วยต่อเนื่องที่บ้าน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2560 วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เป็นค่าความถี่ และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามประเด็นที่ กำหนด ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ตำบลทุ่งมะพร้าว ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ มีภาวะโรคเรื้อรัง บางรายมีความพิการและทุพลภาพ ทุกรายอยู่ในภาวะพึ่งพิง และยังไม่มีรูปแบบในการดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง สำหรับการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง โดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าวที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีการพัฒนาแนวทางการดูแลอย่างเป็นระบบ มีระบบ การติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทีมสุขภาพ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันพัฒนารูปแบบและแนวทาง การสนับสนุนการดูแลอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ที่ได้จากวิเคราะห์ สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างระบบในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และ ขั้นตอนที่ 3 สะท้อนการปฏิบัติ มีกระบวนการในการตรวจสอบ การปรับปรุงและการประเมินผล ผลจากการดำเนิน งานพัฒนารูปแบบ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและญาติ มีความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 97.11 ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง มีพัฒนาการด้านความสามารถในการดาเนินชีวิตประจ ํ าวันดีขึ้น ผู้สูงอายุติดกลุ่ม 3 ที ํ ่ไม่สามารถช่วย เหลือตัวเองได้ ลดลงเหลือร้อยละ 66.67 ผู้สูงอายุกลุ่ม 2 ที่สามารถดูแลตัวเองได้แต่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ลดลงจากร้อยละ 70.59 เป็นร้อยละ 6.25 ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้ดูแล เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ดูแลตนเองและสามารถพึ่งตนเองได้ดีขึ้น ทีมสุขภาพมีแนวปฏิบัติในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับกลุ่ม ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่ชัดเจน เหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ