แนวทางเชิงกลยุทธ์การพัฒนานาคาโมเดลสำหรับการจัดการกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาคา และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายระดับตำบล

ผู้แต่ง

  • สุริโย ชูจันทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี

คำสำคัญ:

นาคาโมเดล, การจัดการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย, อบต. นาคา, การจัดบริการสาธารณะ, การมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายระดับตำบลนาคา, การบริการค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียเชิงรุก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานาคาโมเดลสำหรับการจัดการกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยองค์การบริหารส่วน ตำบล (อบต.) นาคา ในปี 2561 โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการจัดบริการสาธารณะเป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์การ พัฒนานาคาโมเดลซึ่งประกอบด้วยระบบ กลไก ขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ที่ อบต. นาคา สามารถดำเนินการจัด ระบบการบริการชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับตำบล ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นาคา รพ.สต. ควนไทรงาม หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 11.5.4 กะเปอร์ โรงพยาบาลสุขสำราญและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสุขสำราญ แนวทางเชิงกลยุทธ์การพัฒนานาคาโมเดลประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ การค้นหาผู้ป่ วย เชิงรุก การพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนทีเร็วและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การจัดการพาหะ นำโรคไข้มาลาเรียและการเฝ้ าระวังและประเมินผล ซึ่งทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือการสร้างระบบ และกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายระดับตำบลนาคา การจัดการองค์กรที่สามารถจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม และการแปลงกลยุทธ์สู่แผนปฏิบัติการเพื่อใช้ควบคุมกำจัดโรคไข้มาลาเรียในเขต อบต. นาคา ประเด็นสำคัญยิ่งคือ นาคาโมเดลสามารถเพิ่มศักยภาพในการบริการค้นหาผู้ป่ วยมาลาเรียเชิงรุกซึ่งเป็นแผนงานบริการชุมชนที่สำคัญ สำหรับแผนปฏิบัติการงานเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี งบประมาณ 2562-2564 ซึ่งมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลโดยคณะกรรมการดำเนินการป้ องกันและระงับโรคติดต่อมาลาเรียและได้บรรจุไว้ในแผนงาน สาธารณสุข แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) ตามรูปแบบงบประมาณของ อบต. นาคา

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้