การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ธีรพร สถิรอังกูร สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
  • ศิริมา ลีละวงศ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ณิชาภา ยนจอหอ สถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข
  • กนกพร แจ่มสมบูรณ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, บริหารการพยาบาล, การระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการบริหารการพยาบาลใน สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ครอบคลุมเขตสุขภาพทั่วประเทศ 13 แห่ง ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ (1) ศึกษาสถานการณ์(2) พัฒนาและทดลองใช้ รูปแบบ และ (3) ประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมาจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ13 แห่ง โดยกลุ่มตัวอย่างระยะ ที่ 1 และ 2 เป็นผู้บริหารการพยาบาล 59 คน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 ประกอบด้วย (1) หัวหน้าพยาบาล 13 คน (2) ผู้บริหารการพยาบาล 316 คน (3) พยาบาล 545 คน และ (4) ผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รับ บริการที่โรงพยาบาลในช่วง 1-28 กุมภาพันธ์2564 จำนวน 616 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผสานวิธีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ คู่มือ การบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ5 คน ได้ค่า CVI=0.80 และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสำรวจและแนวทางการประชุม ระดมสมองเพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหาร (2) แนวทางการติดตามการดำเนินงานตามรูปแบบ (3) แนวทางการ สนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลรูปแบบ (4) แบบประเมินความพร้อมในการบริหาร (5) แบบสอบถามความพร้อมใน การบริหารตามความรับรู้ของผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (6) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ และ (7) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามลำดับที่ 5-7 ได้ ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค 0.90, 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ13 แห่ง บริหารการ พยาบาลตามสถานการณ์โดยไม่มีรูปแบบการบริหารการพยาบาลที่ชัดเจน และไม่ครอบคลุมการบริหารการพยาบาลหลังการระบาดของโควิด-19 ผลการพัฒนารูปแบบพบว่า ประกอบด้วยศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการ พยาบาล การประเมินความพร้อมการบริหารการพยาบาล และแนวทางการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 ที่ครอบคลุมระยะก่อน ขณะ และหลังเกิดการระบาดของโควิด-19 ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่าผู้ บริหารการพยาบาลมีความคิดเห็นต่อรูปแบบในระดับมากทีสุด่ สามารถนำรูปแบบใช้ได้จริง (Mean=4.58,SD=0.58) ใช้กับโรงพยาบาลระดับอื่นได้(Mean=4.54,SD=0.60) และใช้กับโรคติดต่ออื่นได้ในระดับมากที่สุด (Mean=4.61, SD=0.58) โรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมในการบริหารการพยาบาล ผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เห็นว่า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิมีความพร้อมการบริหารการพยาบาล อยู่ในระดับมาก (Mean=4.35, SD=0.41) และพึง พอใจในบริการพยาบาล อยู่ในระดับมาก (Mean=4.30, SD=0.45) พยาบาลรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติ การพยาบาลโควิด-19 อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.55, SD=0.44) และมั่นใจในมาตรการการปฏิบัติงานของ หน่วยงานอยู่ในระดับมาก (Mean=4.40, SD=0.53) และไม่พบการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของพยาบาล และการ แพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลจากผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนและหลังทดลองรูปแบบในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิทั้ง 13 แห่ง โดยสรุป รูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อการบริหารการพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 และผู้วิจัยได้โดยได้ขยายผลรูปแบบนี้ไปยังองค์กรพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำสู่การ ปฏิบัติในพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้